เลขที่หนังสือ | : กค 0706/9628 |
วันที่ | : 17 พฤศจิกายน 2548 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินค่าบริการให้แก่ ผู้ประกอบการในต่างประเทศ สำหรับการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 27 มาตรา 65 มาตรา 70 และมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | : บริษัทฯ ได้หารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ สำหรับการให้บริการ ที่กระทำในราชอาณาจักร โดยมีข้อเท็จจริงสรุปได้ดังนี้ 1. บริษัทฯ ประกอบกิจการซ่อมอากาศยานของส่วนราชการต่าง ๆ ได้รับการ ส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ประเภท 4.7 กิจการผลิตหรือ ซ่อมอากาศยานรวมทั้งชิ้นส่วนอุปกรณ์อากาศยานหรือเครื่องใช้บนอากาศยานเมื่อ วันที่ 19 พฤษภาคม 2547 เป็นระยะเวลา 8 ปี บริษัทฯ เริ่มมีรายรับจากการให้บริการ ซ่อมอากาศยานเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2547 และได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547 จนถึงปัจจุบัน 2. เนื่องจากการซ่อมอากาศยานบางรุ่น (Model) บริษัทฯ มีความจำเป็นต้อง ซื้อชิ้นส่วนอุปกรณ์พร้อมจ้างผู้เชี่ยวชาญจากผู้ประกอบการในต่างประเทศเพื่อมา ให้บริการในประเทศไทย โดยผู้ประกอบการในต่างประเทศจะเรียกเก็บเงินโดยแยก รายการค่าชิ้นส่วนอุปกรณ์ (Material) และค่าบริการ (Supervision Fee) ออกจากกัน ซึ่งบริษัทฯ จะจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวบางรายการให้กับผู้ประกอบการในต่างประเทศ โดยตรง ดังนี้ 2.1ปี 2547 ค่าชิ้นส่วนอุปกรณ์ (Material) 2.2 ปี 2548 ค่าบริการ (Supervision Fee) งวดแรก เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548 ซึ่งในการจ่ายเงินค่าบริการดังกล่าว บริษัทฯ ไม่ได้หักภาษีเงินได้ และนำส่งภาษ ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) นำส่งกรมสรรพากร 3. บริษัทฯ จึงหารือว่า 3.1 กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร และนำส่ง เงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการในต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสีย ตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ อย่างไร 3.2 หากกรมสรรพากรเห็นว่า บริษัทฯ มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้ และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการจ่ายเงินค่าบริการจ้างผู้เชี่ยวชาญไปต่างประเทศ บริษัทฯ ขอให้กรมสรรพากรพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม 4. ต่อมา บริษัทฯ ได้มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมดังนี้ 4.1 บริษัทฯ ต้องจ้างผู้ควบคุมการซ่อมหรือผู้เชี่ยวชาญจากผู้ประกอบการ ในต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย บริษัทผู้ผลิต หรือบริษัทผู้ให้บริการซ่อมอากาศ ยานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล เนื่องจากในการซ่อมเครื่องบินแต่ละแบบ ซึ่ง ความเสียหายอาจเกิดจากอุบัติเหตุ หรือการชำรุดตามสภาพ หรือการตรวจซ่อม ตามวงรอบ การให้บริการซ่อมจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่เฉพาะด้านที่มีความรู้ความ ชำนาญจากบริษัทผู้ผลิต หรือบริษัทผู้ให้บริการซ่อมอากาศยานที่ได้รับการรับรอง มาตรฐานสากลกำกับดูแล และให้การช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เพื่อให้งาน ซ่อมบำรุงถูกต้องและได้มาตรฐานตามข้อกำหนด 4.2 ผู้ควบคุมการซ่อมหรือผู้เชี่ยวชาญจากผู้ประกอบการในต่างประเทศมี หน้าที่ควบคุมการซ่อม ให้คำปรึกษา และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เจ้าหน้าที่ของ บริษัทฯ โดยงานซ่อมส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ จะเป็นผู้ดำเนินการซ่อมเอง ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่จากบริษัทผู้ผลิตหรือบริษัทผู้ให้บริการซ่อม อากาศยานดังกล่าว 4.3 ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน บริษัทฯ ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจาก บริษัทผู้ผลิตหรือบริษัทผู้ให้บริการซ่อมอากาศยานจากต่างประเทศ รวม 4 แห่ง ได้แก่ |
แนววินิจฉัย | : กรณีบริษัทฯ จ้างผู้เชี่ยวชาญของบริษัทผู้ผลิต หรือบริษัทผู้ให้บริการซ่อมอากาศ ยานในต่างประเทศ ได้แก่ บริษัท A บริษัท S บริษัท M และบริษัท P เข้ามาควบคุม การซ่อม ให้คำปรึกษา และถ่ายทอดเทคโนโลยีการซ่อมปรับปรุงอากาศยานให้แก่ เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินค่าบริการ (Supervision Fee) ให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศโดยตรง ภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลและ ภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการในต่างประเทศดังกล่าวแยกพิจารณาได้ดังนี้ 1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล 1.1 กรณีผู้เชี่ยวชาญของบริษัท A ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ อิตาลี ได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย เป็นระยะเวลารวมกันทั้งสิ้น 24 เดือน และ กรณีผู้เชี่ยวชาญของบริษัท S ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์ เข้ามา ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย เป็นระยะเวลารวมกันทั้งสิ้น 120 วัน ไม่ถือว่าบริษัท A และบริษัท S ได้ประกอบธุรกิจให้บริการผ่านสถานประกอบการถาวรที่ตั้งอยู่ใน ประเทศไทย ดังนั้น การจ่ายเงินค่าบริการ (Supervision Fee) ให้กับบริษัท A และ บริษัท S เงินได้พึงประเมินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นกำไรจากธุรกิจ (Business Profit) เมื่อบริษัท A และบริษัท S ไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย บริษัท A และบริษัท S จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งอนุสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอิตาลี เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับ ภาษีเก็บจากเงินได้ และอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาล แห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการ รัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ประกอบกับมาตรา 3 แห่งพระราช กฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า การให้คำปรึกษาและแนะนำด้านการซ่อมอากาศยาน ของผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวมีลักษณะเป็นการให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทาง อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งบริษัท A และบริษัท S มีสิทธิ หวงกันแล้ว ค่าตอบแทนการให้บริการ (Supervision Fee) ย่อมเข้าลักษณะเป็น ค่า สิทธิ ตามข้อ 12 แห่งอนุสัญญาฯ ดังกล่าว บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึง ประเมินที่จ่ายและนำส่งกรมสรรพากรตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบ กับข้อ 12 วรรคสอง (ข) แห่งอนุสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐ อิตาลีฯ และข้อ 12 วรรคสาม แห่งอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ฯ ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 1.2 กรณีผู้เชี่ยวชาญของบริษัท M ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของ สาธารณรัฐเชค ได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย เป็นระยะเวลารวมกันทั้งสิ้น 11 เดือน เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญของบริษัท M เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยเป็น ระยะเวลารวมกันเกินกว่า 6 เดือน ในระยะเวลาสิบสองเดือน ถือว่าบริษัท M มีสถาน ประกอบการถาวรในประเทศไทย ตามข้อ 5 วรรคสอง (ญ) แห่งความตกลงระหว่าง รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเชคเพื่อการเว้นการเก็บ ภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ บริษัท M จึงมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยจากเงินได้หรือกำไร เพียงเท่าที่พึงถือว่าเป็นของสถานประกอบการถาวรนั้น ตามมาตรา 76 ทวิ แห่ง ประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งความตกลงฯ ดังกล่าว โดยคำนวณ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และ บริษัทฯ ในฐานะผู้จ่ายเงินค่าบริการให้กับบริษัท M ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย จึงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ใน อัตราร้อยละ 5.0 โดยใช้แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 53 นำส่งกรมสรรพากรภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามข้อ 12 และข้อ 13 ของ คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 และเมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัทฯ ไม่ได้ดำเนินการหักภาษีให้ถูกต้อง บริษัทฯ จึงต้อง นำส่งภาษีที่มีหน้าที่หักพร้อมกับเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร อีก ร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวม เบี้ยปรับ และกรณีดังกล่าวยังไม่ถือเป็นเหตุจำเป็นจนไม่สามารถปฏิบัติตามกำหนด ได้ จึงไม่อนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาตามมาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร 1.3 กรณีผู้เชี่ยวชาญของบริษัท P ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ อินโดนีเซีย ได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย เป็นระยะเวลารวมกันทั้งสิ้น 150 วัน ค่าบริการที่บริษัทฯ จ่ายให้กับบริษัท P เข้าลักษณะเป็นเงินได้ประเภทกำไรจาก ธุรกิจ (Business Profits) แต่เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญของบริษัท P ได้ให้บริการใน ประเทศไทยเป็นระยะเวลารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินกว่า 6 เดือน ภายใน 12 เดือนใด ๆ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าบริษัท P ได้ประกอบกิจการให้บริการผ่านสถานประกอบการถาวร ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ดังนั้น บริษัท P จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลใน ประเทศไทย ตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักร ไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการ ป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และจากทุน ประกอบกับมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า การปฏิบัติหน้าที่ให้คำปรึกษาและแนะนำด้าน การซ่อมอากาศยานของผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวมีลักษณะเป็นการให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับ ประสบการณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งบริษัท P มี สิทธิหวงกันแล้ว ค่าตอบแทนการให้บริการ (Supervision Fee) ย่อมเข้าลักษณะ เป็น ค่าสิทธิ ตามข้อ 12 แห่งอนุสัญญาฯ ดังกล่าว บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษี จากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายและนำส่งกรมสรรพากรตามมาตรา 70 แห่งประมวล รัษฎากร ประกอบกับข้อ 12 วรรคสอง (ข) แห่งอนุสัญญาระหว่างราชอาณาจักร ไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซียฯ และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 2. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจาก บริษัท A บริษัท S บริษัท M และบริษัท P เป็นผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรได้เข้ามาขายสินค้าหรือให้บริการใน ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว โดยไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการ ชั่วคราวตามมาตรา 85/3 แห่งประมวลรัษฎากร จึงอยู่ในบังคับต้องเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงิน ค่าสินค้าหรือค่าบริการให้กับผู้ประกอบการในต่างประเทศ มีหน้าที่นำส่งเงิน ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการในต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสีย โดยยื่นแบบนำส่ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) ณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือน ที่จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามมาตรา 83/6 แห่งประมวล รัษฎากร อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัทฯ ได้จ่ายเงินค่าบริการให้กับ ผู้ประกอบการในต่างประเทศ โดยบริษัทฯ มิได้นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ ผู้ประกอบการในต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียภาษีภายในกำหนดเวลา บริษัทฯ ไม่ ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ แต่บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งทั้งนี้ ตามมาตรา 83/6 และ มาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร กรณียังไม่ถือเป็นเหตุจำเป็นจนไม่สามารถปฏิบัติ ตามกำหนดได้ จึงไม่อนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาตามมาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวล รัษฎากร |
เลขตู้ | : 68/33686 |