เลขที่หนังสือ | : กค 0706/8657 |
วันที่ | : 19 ตุลาคม 2548 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายค่าธรรมเนียมและค่าที่ปรึกษาไปต่างประเทศ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 70 พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 อนุสัญญาระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา |
ข้อหารือ | : ปัญหาภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายค่าธรรมเนียมและค่าที่ปรึกษาไป ต่างประเทศ สรุปข้อเท็จจริง ดังนี้ 1. จากการวิเคราะห์ข้อมูลการยื่นแบบ ภ.พ.36 ปรากฏว่า มีการจ่าย ค่าธรรมเนียมการให้คำแนะนำและปรึกษาให้แก่ บริษัท อ. ซึ่งเป็นการจ่ายเงินให้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ กระทำกิจการในประเทศไทย แต่บริษัทฯ มิได้หักภาษี และนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด.54 ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด 2. บริษัทฯ เป็นนิติบุคคลในเครือเดียวกันของกลุ่มบริษัท ม. ที่ถือหุ้นทั้ง ทางตรงและทางอ้อมโดยกลุ่มบริษัท ม. ในการบริหารงานของบริษัทในเครือ ม. จะ ใช้วิธีการจัดสรรพนักงานที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน ขึ้นเป็นกลุ่มสนับสนุน ร่วม เป็นหน่วยงานกลางของกลุ่ม ม. ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนการบริหารการ จัดการ การดำเนินงานและการควบคุมต้นทุนของบริษัทในเครือทั่วโลก โดย ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะทำการปันส่วนไปยังบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ จะจ่ายเงิน ค่าตอบแทนให้ บริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ บริษัท ม. เช่นกัน การดำเนินการ ดังกล่าวจะมีหลักเกณฑ์การปันส่วนรายจ่ายจากรายรับ จึงถือเป็นการจ่ายเงินได้พึง ประเมินที่เข้าลักษณะ ค่าสิทธิ ตามข้อ 12 วรรคสอง แห่งอนุสัญญาระหว่างรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ เพื่อการเว้นการเก็บภาษี ซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ |
แนววินิจฉัย | : กรณีเงินได้จากสัญญาให้บริการตามข้อเท็จจริงดังกล่าว บริษัท อ. ผู้ว่าจ้าง มีสถานภาพเป็นสำนักงานสาขาของบริษัทต่างประเทศ จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของ มลรัฐเดลาแวร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ บริษัท อ. ผู้รับจ้าง มีสถานภาพ เป็นสำนักงานสาขาของบริษัทต่างประเทศ จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ สหรัฐอเมริกา กรณีดังกล่าว แม้เป็นการจ่ายเงินได้จากประเทศไทยไปยังประเทศ สิงคโปร์ แต่ไม่อาจปรับใช้บทบัญญัติแห่งอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่ง ราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ แต่ต้อง พิจารณาถึงบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และ รัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการ รัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ เนื่องจากบริษัท อ. ผู้มีเงินได้พึง ประเมินมีถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ตามข้อ 1 วรรค หนึ่งแห่งอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่ง สหรัฐอเมริกาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรใน ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ นอกจากนี้ ลักษณะงานตามสัญญาให้บริการที่ บริษัท อ. มีหน้าที่ต้องดำเนินการคือการสนับสนุนในระดับภูมิภาค (Regional Operating Center) สำหรับการโฆษณา (Regional Advertising) การวิจัยและ พัฒนาเพื่อปรับปรุงส่วนแบ่งตลาดสำหรับกลุ่มสินค้าภายในเครือเดียวกัน (Regional Franchises) ระบบสารสนเทศ (Information System) การบริหารทาง การเงิน (Services and Finances) การจัดการด้านบุคลากร (Personal and Organization) ซึ่งลักษณะงานถือเป็นการทำหน้าที่เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ทางภูมิภาคให้แก่บริษัทภายในเครือ มิใช่เป็นค่าตอบแทนจากการใช้หรือสิทธิใน การใช้ลิขสิทธิ์ใด ๆ ในงานวรรณกรรม ศิลปะ หรือ วิทยาศาสตร์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า แบบ หรือหุ่นจำลอง แผนผังสูตรลับหรือกรรมวิธีใด ๆ หรือเป็น ค่าตอบแทนเพื่อการใช้หรือสิทธิในการใช้อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือวิทยาศาสตร์ หรือเป็นการถ่ายทอดข้อสนเทศที่เกี่ยวกับประสบการณ์ทาง อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือวิทยาศาสตร์ ตามข้อ 12 วรรคสาม แห่งอนุสัญญา ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อการเว้นการ เก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจาก เงินได้ แต่ถือเป็นกำไรจากธุรกิจ ดังนั้น หากบริษัท อ. ได้ให้บริการดังกล่าวใน ต่างประเทศ และมิได้กระทำผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย บริษัท อ. จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยจากการให้บริการดังกล่าว ทั้งนี้ ตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และ รัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการ รัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ประกอบกับมาตรา 3 แห่งพระราช กฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 68/33624 |