เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/2405
วันที่: 21 มีนาคม 2549
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ข้อกฎหมาย: พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 433) พ.ศ. 2548
ข้อหารือ:          บริษัทฯ ได้ทำสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับกลุ่มเจ้าหนี้สถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดภายในปี พ.ศ. 2548 ตามสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ กลุ่มเจ้าหนี้สถาบันการเงินตกลงที่จะลดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยให้กับบริษัทฯ แต่การลดหนี้หรือปลดหนี้จะทยอยปรับลดตามเงื่อนไขหากบริษัทฯ สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ การลดหนี้หรือการปลดหนี้ดังกล่าวจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2550 ถึงปี พ.ศ. 2558 บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
           1. หนี้ส่วนที่เจ้าหนี้ลดหนี้หรือปลดหนี้ให้กับบริษัทฯ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
           2. หากบริษัทฯ มีการโอนทรัพย์สินหรือตราสารให้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงินเพื่อเป็นการชำระหนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์หรือไม่
แนววินิจฉัย:           กรณีบริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับกลุ่มเจ้าหนี้สถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด โดยเจ้าหนี้สถาบันการเงินตกลงจะลดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยให้กับบริษัทฯ และให้การลดหนี้มีผลเกิดขึ้นในปี 2550 ถึงปี 2558 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามข้อเท็จจริงข้างต้นไม่อยู่ในบังคับของพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 433) พ.ศ. 2548 บริษัทฯ จึงไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรแต่อย่างใด าษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 85)ฯ ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 บริษัทฯ ย่อมไม่มีสิทธินำส่วนของภาษีขายที่คำนวณจากส่วนของหนี้สูญมาหักออกจากภาษีขายในเดือนภาษีที่ได้มีการจำหน่ายหนี้สูญ
เลขตู้: 69/34004

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020