ระเบียบกรมสรรพากร
ว่าด้วยการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2555
-------------------------------------------
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ 3 ในระเบียบนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
ผู้ประกอบการจดทะเบียน หมายความว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้มีหน้าที่ออกใบรับ หมายความว่า ผู้มีหน้าที่ออกใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร
ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า ใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรที่มีข้อความอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และให้หมายความรวมถึง ใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 และใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากรที่มีข้อความอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า ใบรับตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรที่มีข้อความอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้จัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบนี้
ผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า ผู้มีหน้าที่ออกใบรับที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้จัดทำ ส่งมอบและเก็บรักษาใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบนี้
ใบรับรอง หมายความว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือการบันทึกอื่นใด ซึ่งยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างเจ้าของลายมือชื่อกับข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ลายมือชื่อดิจิทัล หมายความว่า ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นโดยการนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาแปลงด้วยระบบอสมมาตร บนพื้นฐานวิทยาการเข้ารหัส (Encryption) และใช้กับระบบกุญแจคู่ โดยนำไปคำนวณร่วมกับกุญแจส่วนตัว (Private key) ของผู้ลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ในลักษณะที่สามารถจะใช้กุญแจสาธารณะ (Public key) ของผู้ลงลายมือชื่อตรวจสอบได้ว่า ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้สร้างขึ้นโดยกุญแจส่วนตัวของผู้ลงลายมือชื่อนั้นหรือไม่ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการลงลายมือชื่อดังกล่าวได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงภายหลัง
การลงลายมือชื่อหรือไม่
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า การส่งหรือรับข้อความด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้มาตรฐานที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร
แบบ บ.อ.01 หมายความว่า แบบคำขอจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
แบบ บ.อ.09 หมายความว่า แบบคำขอและแจ้งเปลี่ยนแปลงการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ 4 ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด 1
การยื่นคำขอ
ข้อ 5 ผู้มีสิทธิยื่นคำขอต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อจัดทำ ส่งมอบและเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบนี้ ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับ
(2) ประสงค์จะจัดทำและเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการทั้งหมด หรือสำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการบางส่วนการจัดทำและเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการบางส่วนตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ในการประกอบกิจการมีการขายสินค้าหรือให้บริการหลายส่วนแต่ประสงค์จะจัดทำและเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด
ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น ประกอบกิจการธนาคาร แต่ประสงค์จะจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์เฉพาะการให้บริการบัตรเครดิตเท่านั้น
(3) ประสงค์จะส่งมอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตาม (2) ให้แก่ผู้รับทั้งหมดหรือบางส่วน ด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ 6 ผู้มีสิทธิยื่นคำขอตามข้อ 5 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป ณ วันที่ยื่นคำขอ หรือเป็นหน่วยงานของรัฐ
(2) มีความมั่นคงและความน่าเชื่อถือในการประกอบการ เช่น มีประวัติการเสียภาษีที่ดี ไม่มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษี ไม่มีประวัติการใช้ใบกำกับภาษีปลอม หรือมีทรัพย์สินสุทธิมากกว่าหนี้สินสุทธิ
(3) มีการจัดทำบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด
(4) มีระบบการควบคุมภายในที่ดี และสามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำและส่งให้แก่ผู้รับมีข้อความถูกต้องครบถ้วนเช่นเดียวกับขณะที่สร้าง ส่ง และรับ โดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้และสามารถแสดงข้อความได้ในภายหลังโดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องมีระบบงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยไร้ร่องรอย หรือมีการเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารที่ออกระหว่างทาง
ข้อ 7 ให้ผู้มีสิทธิยื่นคำขอตามข้อ 5 ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 6 ยื่นคำขอต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบ บ.อ.01 ที่แนบท้ายระเบียบนี้โดยยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
กรณีผู้มีสิทธิยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งประสงค์จะออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการบางส่วน ให้ระบุการขายสินค้าหรือให้บริการนั้นให้ชัดเจนในแบบ บ.อ.01 ด้วย
ข้อ 8 เมื่อการยื่นคำขอตามข้อ 7 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสมบูรณ์แล้วผู้ยื่นคำขอต้องจัดส่งเอกสารประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้ ณ สำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ยื่นคำขอ
(1) แบบ บ.อ.01 ที่ยื่นไว้ตามข้อ 7
(2) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกินหกเดือนนับถึงวันส่งเอกสาร
(3) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาใบสำคัญคนต่างด้าวของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทหรือหน่วยงานของรัฐ
(4) หนังสือมอบอำนาจ พร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นจัดส่งเอกสาร
(5) แผนผังการทำงานรวมของระบบงานทั้งหมด (System Flowchart) และคำอธิบายระบบงาน ระบบรักษาความปลอดภัย และวิธีการเรียกพิมพ์
(6) แผนผังกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ของการขายสินค้าหรือให้บริการบางส่วน กรณียื่นคำขอเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการบางส่วนนั้น
ข้อ 9 ผู้ยื่นคำขอตามข้อ 7 จะจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้เมื่อได้รับอนุมัติเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว
หมวด 2
การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ 11 ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีรายการที่เป็นสาระสำคัญถูกต้องครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร และการจัดทำต้องอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) กรณีใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร ใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร และใบรับตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ต้องมีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยจัดทำเป็นลายมือชื่อดิจิทัล และใช้ใบรับรองของผู้ให้บริการออกใบรับรองที่กรมสรรพากรเห็นชอบ โดยมีขั้นตอนการจัดทำลายมือชื่อดิจิทัลดังต่อไปนี้
(ก) ติดตั้งโปรแกรมการสร้างลายมือชื่อดิจิทัลของกรมสรรพากรที่ระบบคอมพิวเตอร์
(ข) จัดทำข้อมูลรายการที่เป็นสาระสำคัญตามมาตรา 86/4 มาตรา 86/9 หรือมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี ในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือรายการที่เป็นสาระสำคัญตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ในใบรับอิเล็กทรอนิกส์ และให้ระบุรหัสสถานประกอบการที่จัดทำใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ด้วย โดยจัดทำให้อยู่ในรูปแบบของ Text File
(ค) นำข้อมูลตาม (ข) และใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองที่กรมสรรพากรเห็นชอบ มาสร้างลายมือชื่อดิจิทัลที่ 1 โดยใช้โปรแกรมการสร้างลายมือชื่อดิจิทัลของกรมสรรพากร ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการถ่ายโอนข้อมูลให้กรมสรรพากรตามข้อ 16
(ง) จัดทำข้อมูลรายการในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ที่ประสงค์จะส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งอาจมีรายการอื่นนอกจากรายการตาม (ข) โดยจัดทำให้อยู่ในรูปแบบของ File ตามที่ต้องการ
(จ) นำข้อมูลตาม (ง) ลายมือชื่อดิจิทัลที่ 1 ตาม (ค) ใบรับรองและหมายเลขใบรับรองของเจ้าของลายมือชื่อดิจิทัลที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองที่กรมสรรพากรเห็นชอบ มาสร้างลายมือชื่อดิจิทัลที่ 2 โดยใช้โปรแกรมการสร้างลายมือชื่อดิจิทัลอื่นนอกจาก (ก) ก็ได้
(ฉ) แสดงลายมือชื่อดิจิทัลที่ 1 ลายมือชื่อดิจิทัลที่ 2 ใบรับรองและหมายเลขใบรับรองของเจ้าของลายมือชื่อดิจิทัลที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองที่กรมสรรพากรเห็นชอบ ให้ปรากฏในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์
(2) กรณีใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร และใบรับตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่ออกภายหลังจากออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการนั้นไปแล้ว ต้องมีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยจัดทำเป็นลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) และใช้ใบรับรองของผู้ให้บริการออกใบรับรองที่กรมสรรพากรเห็นชอบ โดยมีขั้นตอนการจัดทำลายมือชื่อดิจิทัลดังต่อไปนี้
(ก) จัดทำข้อมูลรายการที่เป็นสาระสำคัญตามมาตรา 86/6 หรือมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ในใบกำกับภาษีอย่างย่อที่มีข้อความอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ แล้วแต่กรณี และอาจมีรายการอื่นนอกจากรายการที่เป็นสาระสำคัญดังกล่าวด้วยก็ได้ โดยให้อยู่ในรูปแบบของ File ตามที่ต้องการ
(ข) นำข้อมูลตาม (ก) และใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองที่กรมสรรพากรเห็นชอบมาสร้างลายมือชื่อดิจิทัล โดยใช้โปรแกรมการสร้างลายมือชื่อดิจิทัลของกรมสรรพากร หรือโปรแกรมการสร้างลายมือชื่อดิจิทัลอื่นก็ได้ ในกรณีที่ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามวรรคหนึ่งไปแล้ว หากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเรียกร้อง ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะต้องออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้น โดยการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวให้เป็นไปตาม (1)
(3) สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายของข้อความไม่เปลี่ยนแปลง
(4) สามารถจัดพิมพ์ในรูปแบบของกระดาษได้
ข้อ 12 ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์จะต้องจัดทำใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับสำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการทั้งหมด หรือสำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการบางส่วนตามที่ยื่นคำขอไว้ในข้อ 7 วรรคสอง ให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น เว้นแต่กรณีระบบงานขัดข้องเมื่อความรับผิดในการจัดทำใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ หรือใบรับเกิดขึ้น ให้จัดทำด้วยวิธีอื่นได้ แต่จะต้องเก็บรักษาสำเนาเอกสารดังกล่าวแยกไว้เพื่อการตรวจสอบ และจะต้องบันทึกข้อมูลลงในระบบงานทันทีที่สามารถกระทำได้ โดยการจัดทำหรือแปลงสำเนาเอกสารดังกล่าวให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในภายหลัง ให้กระทำได้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ 14 ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการที่ได้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 13 และประสงค์จะเก็บรักษาเอกสารดังกล่าวไว้ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้กระทำได้โดยปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.121/2545 เรื่อง การจัดทำและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานตามประมวลรัษฎากร ที่มีข้อความอยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2545
ข้อ 15 ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ต้องเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จัดทำขึ้นตามหมวด 2 ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเก็บรักษาข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นอยู่ในขณะที่สร้าง และส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น หรืออยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงข้อความที่สร้างและส่งให้ปรากฏอย่างถูกต้องได้
(2) ต้องเก็บรักษาข้อความส่วนที่ระบุถึงแหล่งกำเนิด ต้นทางที่สร้าง ส่ง จำนวนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่ง วัน เดือน ปี และเวลาที่ส่ง หน่วยงานที่ส่ง และปลายทางของข้อมูล จำนวนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ปลายทางได้รับ วัน เดือน ปี และเวลาที่ได้รับข้อมูล พร้อมทั้งสามารถแสดงใบรับรองในเอกสารแต่ละฉบับ
(3) สามารถเรียกดูหรือพิมพ์ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้ในทันทีที่เจ้าพนักงานประเมินสั่ง หรือผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเรียกร้อง
ข้อ 16 เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการที่ได้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ต้องถ่ายโอนข้อมูลที่ได้จัดทำตามข้อ 11 (1) (ค) ไปยังกรมสรรพากรด้วยวิธีการแบบปลอดภัยตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ในข้อตกลงแนบท้ายแบบ บ.อ.01 โดยถ่ายโอนข้อมูลเป็นรายเดือน ภายในวันที่ยี่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบของ Text File ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร โดยมีรายการต่าง ๆ อย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) กรณีใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
(ก) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
(ข) หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี
(ค) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
(ง) มูลค่าของสินค้าหรือของบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(จ) จำนวนเงินส่วนลดการค้า
(ฉ) จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ช) มูลค่าของสินค้าหรือของบริการที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ญ) รหัสสถานประกอบการที่จัดทำใบกำกับภาษีซึ่งปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
(2) กรณีใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร
(ก) วัน เดือน ปี ที่ออกใบเพิ่มหนี้
(ข) หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม
(ค) ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
(ง) จำนวนมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เรียกเก็บเพิ่ม
(จ) จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บเพิ่ม
(ฉ) รหัสสถานประกอบการที่จัดทำใบเพิ่มหนี้ซึ่งปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
(3) กรณีใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร
(ก) วัน เดือน ปี ที่ออกใบลดหนี้
(ข) หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม
(ค) ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
(ง) จำนวนมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ใช้คืน
(จ) จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้คืน
(ฉ) รหัสสถานประกอบการที่จัดทำใบลดหนี้ซึ่งปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
(4) กรณีใบรับตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ก) วัน เดือน ปี ที่ออกใบรับ
(ข) มูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
(ค) หมายเลขลำดับของใบรับ (ถ้ามี)
(ง) ชื่อ ชนิด จำนวนและราคาสินค้า ในกรณีการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าเฉพาะชนิดที่มีราคาตั้งแต่หนึ่งร้อยบาทขึ้นไป
(5) กรณีที่มีการยกเลิกและออกเอกสารตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ฉบับใหม่แทนฉบับเดิม ให้เพิ่มการถ่ายโอนข้อมูลหมายเลขลำดับของเอกสารฉบับเดิมที่ถูกยกเลิกในเอกสารฉบับใหม่ด้วย
ข้อ 17 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับได้รับอนุมัติให้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการบางส่วนตามที่ยื่นคำขอไว้ตามข้อ 7 วรรคสอง ต่อมาประสงค์จะออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการบางส่วนเพิ่มเติม ให้ยื่นคำขอจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการบางส่วนเพิ่มเติม ตามแบบ บ.อ.09 ที่แนบท้ายระเบียบนี้ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
ข้อ 18 เมื่อการยื่นคำขอตามข้อ 17 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสมบูรณ์แล้ว ผู้ยื่นคำขอต้องจัดส่งเอกสารประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้ ณ สำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ยื่นคำขอ
(1) แบบ บ.อ.09 ที่ยื่นไว้ตามข้อ 17
(2) หนังสือมอบอำนาจพร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นจัดส่งเอกสาร
(3) แผนผังกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ของการขายสินค้าหรือให้บริการบางส่วนที่ขอจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติม
ข้อ 19 ผู้ยื่นคำขอตามข้อ 17 จะจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการบางส่วนเพิ่มเติมได้เมื่อได้รับอนุมัติเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว
ข้อ 20 กรณีผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ประสงค์จะจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์บางส่วนลดลง หรือประสงค์จะยกเลิกการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้นต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบ บ.อ.09 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร และจะเปลี่ยนแปลงการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามที่แจ้งได้เมื่อการยื่นแบบ บ.อ.09 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสมบูรณ์แล้ว
ข้อ 21 กรณีผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามข้อ 6 หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบนี้ และมิได้ปรับปรุงแก้ไขคุณสมบัติหรือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากสำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าผู้นั้นไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบนี้นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดีกรมสรรพากรเป็นต้นไป
ข้อ 22 การจัดทำและเก็บรักษาใบกำกับภาษีและใบรับตามประมวลรัษฎากรในกรณีอื่นที่ไม่เข้าลักษณะตามระเบียบนี้ ให้กระทำได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.121/2545 เรื่อง การจัดทำและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานตามประมวลรัษฎากร ที่มีข้อความอยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2545
ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555
สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร