เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/4679
วันที่:30 พฤษภาคม 2549
เรื่อง:ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีพนักงานออกจากงานเพราะเกษียณอายุ
ข้อกฎหมาย:มาตรา 46(1) มาตรา 48(5) และมาตรา 50() แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ:             นาง ช. กับพวก ประกอบด้วย นาง ร. และนาย บ. เป็นพนักงานองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ได้ขอให้กรมสรรพากรพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ กรณี ร.ส.พ. ได้หักภาษี ณที่จ่าย เนื่องจากท่านกับพวกได้เกษียณอายุ ทั้งนี้ ร.ส.พ. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในการผ่อนชำระบำเหน็จให้กับท่านกับพวก ตามคำสั่งศาลแรงงานกลาง โดยแบ่งจ่ายเป็น 40 งวด ร.ส.พ.ได้ผ่อนชำระให้เพียง 3 งวด เห็นว่าเนื่องจากการเปลี่ยนวิธีการชำระเงินของ ร.ส.พ. ทำให้ต้องรับภาระภาษีเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก อีกทั้งทุกคนเป็นผู้สูงอายุและไม่มีรายได้อื่นอีก จึงขอให้กรมสรรพากรพิจารณาลดหย่อนภาษีให้เป็นกรณีพิเศษด้วย
แนววินิจฉัย:            บำเหน็จที่ท่านกับพวกได้รับเนื่องจากเกษียณอายุเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ร.ส.พ. ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดีโดยที่บำเหน็จดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่มีวิธีการคำนวณแตกต่างไปจากวิธีการคำนวณบำเหน็จตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หากท่านกับพวกมีระยะเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี ย่อมมีสิทธิเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่างอื่น ตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามมาตรา 48 (5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้ประจำปี หากคำนวณภาษีแล้วปรากฏว่า ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสีย ท่านกับพวกก็มีสิทธิขอคืนเงินภาษีที่ถูกหักไว้เกินนั้น ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษี ตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนการขอให้ลดหย่อนภาษีสำหรับท่านกับพวกเป็นกรณีพิเศษนั้น กรมสรรพากรไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้แต่ประการใด
เลขตู้:69/34243

เลขที่หนังสือ: กค 0706/4679
วันที่:30 พฤษภาคม 2549
เรื่อง:ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีพนักงานออกจากงานเพราะเกษียณอายุ
ข้อกฎหมาย:มาตรา 46(1) มาตรา 48(5) และมาตรา 50() แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ:             นาง ช. กับพวก ประกอบด้วย นาง ร. และนาย บ. เป็นพนักงานองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ได้ขอให้กรมสรรพากรพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ กรณี ร.ส.พ. ได้หักภาษี ณที่จ่าย เนื่องจากท่านกับพวกได้เกษียณอายุ ทั้งนี้ ร.ส.พ. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในการผ่อนชำระบำเหน็จให้กับท่านกับพวก ตามคำสั่งศาลแรงงานกลาง โดยแบ่งจ่ายเป็น 40 งวด ร.ส.พ.ได้ผ่อนชำระให้เพียง 3 งวด เห็นว่าเนื่องจากการเปลี่ยนวิธีการชำระเงินของ ร.ส.พ. ทำให้ต้องรับภาระภาษีเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก อีกทั้งทุกคนเป็นผู้สูงอายุและไม่มีรายได้อื่นอีก จึงขอให้กรมสรรพากรพิจารณาลดหย่อนภาษีให้เป็นกรณีพิเศษด้วย
แนววินิจฉัย:            บำเหน็จที่ท่านกับพวกได้รับเนื่องจากเกษียณอายุเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ร.ส.พ. ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดีโดยที่บำเหน็จดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่มีวิธีการคำนวณแตกต่างไปจากวิธีการคำนวณบำเหน็จตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หากท่านกับพวกมีระยะเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี ย่อมมีสิทธิเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่างอื่น ตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามมาตรา 48 (5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้ประจำปี หากคำนวณภาษีแล้วปรากฏว่า ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสีย ท่านกับพวกก็มีสิทธิขอคืนเงินภาษีที่ถูกหักไว้เกินนั้น ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษี ตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนการขอให้ลดหย่อนภาษีสำหรับท่านกับพวกเป็นกรณีพิเศษนั้น กรมสรรพากรไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้แต่ประการใด
เลขตู้:69/34243

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020