เลขที่หนังสือ | : กค 0706/4940 |
วันที่ | :7 มิถุนายน 2549 |
เรื่อง | :ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีค่าปรับเนื่องจากการกระทำความผิดตามกฎหมายศุลกากร |
ข้อกฎหมาย | :มาตรา 82/3 มาตรา 82/5 (3) มาตรา 65 ตรี (6) และมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | : บริษัท อ. จำกัด ประกอบกิจการท่าเทียบเรือตู้สินค้า (Container) ตั้งอยู่ที่ท่า เรือพาณิชย์แหลมฉบัง ท่าเทียบเรือบี 3 จังหวัดชลบุรี ซึ่งการท่าเรือฯ ได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากรให้ท่าเทียบเรือบี 3 เป็นเขต ทำเนียบท่าเรือและโรงพักสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรสำหรับบรรทุกของลงหรือขนของขึ้นรวมทั้งเป็นที่สำหรับตรวจ และเก็บสินค้าที่ยังมิได้ตรวจปล่อย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2542 เจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ได้ตรวจพบการกระทำความผิดตาม กฎหมายว่าด้วยศุลกากรจึงได้แจ้งข้อกล่าวหาว่า ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า ซึ่งนำเข้าโดยเรือของบริษัท ว. จำกัด ซึ่งจะขนถ่าย สินค้านำไปเก็บรักษา ณ ทำเนียบท่าเรือและโรงพักสินค้าของบริษัทฯ ที่ท่าเทียบเรือ ได้ถูกลักลอบหนีภาษีศุลกากรโดยพนักงาน ของบริษัทฯ ปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบบกพร่องต่อหน้าที่ปล่อยปละละเลยให้นาย ส. พนักงานของบริษัท ว. (บริษัทตัวแทนเรือ) กระทำการปลอมแปลงเอกสารต่าง ๆ เป็นเหตุให้สามารถลักลอบสินค้าที่นำเข้า ซึ่งตู้คอนเทนเนอร์ถูกบรรทุกโดยรถบรรทุกของ บุคคลภายนอกและลักลอบหนีศุลกากรได้ทันที จึงมีผลทำให้บริษัทฯ ต้องรับผิดชอบร่วมกับบริษัท ว. ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วย ศุลกากร บริษัทฯ ได้ทำความตกลงระงับคดีในชั้นศุลกากร พร้อมกับขอชำระค่าปรับจำนวน 15,513,929.00 บาท ค่าอากรขาเข้า 2,065,438.00 บาท และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,014,926.00 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 คณะกรรมการเปรียบเทียบ งดการฟ้องร้อง ได้มีมติให้งดการฟ้องร้องตามที่บริษัทฯ ได้ขอทำความตกลงและผลจากการที่คณะกรรมการเปรียบเทียบอนุมัติดังกล่าว ให้ถือว่า เป็นอันคุ้มกันผู้กระทำผิดนั้น ในการที่จะถูกฟ้องร้องต่อไปในกรณีแห่งความผิดนั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 102 ทวิ แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 บริษัทฯ จึงขอทราบว่า 1. ค่าปรับจำนวน 15,513,929.00 บาท ที่บริษัทฯ เสียแทนผู้นำเข้า มิใช่ค่าปรับทางอาญาตาม ประมวลรัษฎากร ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 10/2528 เรื่อง เบี้ยปรับ และหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญาตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2528 2.ค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่ถูกลักลอบหนีศุลกากรไปเป็นจำนวน 3,080,364.00 บาท (อากรขาเข้า 2,065,438.00 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,014,926.00 บาท) ที่บริษัทฯ เสียแทนผู้นำเข้า บริษัทฯ มีสิทธินำมาถือเป็นภาษีซื้อ ได้ถูกต้องหรือไม่ 3 ถ้าบริษัท ว. ปฏิเสธความรับผิดทั้งหมดกับกรมศุลกากร และขอต่อสู้คดี บริษัทฯ มีสิทธินำค่าปรับ มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ทั้งหมดถูกต้องหรือไม่ 4 กรณีบริษัทฯ ใช้สิทธิไล่เบี้ยบริษัท ว. โดยยื่นฟ้องต่อศาล แต่ถูกปฏิเสธการจ่าย อีกทั้ง บริษัท ว. ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากบริษัทฯ หากคดีถึงที่สุดโดยมีคำพิพากษาว่า บริษัทฯ ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยค่าปรับฯ หรือคู่ความทั้ง สองฝ่ายได้ตกลงกันประนีประนอมยอมความในศาล และระบุในสัญญาให้บริษัทฯ ต้องเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายตามฟ้องแย้ง บริษัทฯ มีสิทธิ นำค่าปรับที่ไล่เบี้ยไม่ได้ รวมทั้งค่าเสียหายที่ฟ้องแย้งนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีตาม 1 ค่าปรับจำนวน 15,513,929.00 บาท ที่บริษัทฯ ต้องรับผิดในฐานะคลัง สินค้าเมื่อปรากฏว่า ของในคลังสินค้าได้ถูกขนย้ายไปโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานตามมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 อันเป็นความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ประกอบกับมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 ซึ่งกรมศุลกากรไม่สามารถติดตามจากผู้นำเข้า กรณีถือได้ว่า เป็นผลเสียหายอันเกิด จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากกิจการ บริษัทฯ มีสิทธินำผลเสียหายดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) และมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณีตาม 2 ค่าอากรขาเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทฯ เสียแทนผู้นำเข้าตามหนังสือทำความตกลงระงับคดีในชั้น ศุลกากร เป็นจำนวนเงิน 3,080,364.00 บาท (อากรขาเข้า 2,065,438.00 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,014,926.00 บาท) จึงเป็นรายจ่ายที่ ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำค่าอากรขาเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มมาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (3) ประกอบกับมาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ ไม่มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่กรมศุลกากรเรียกเก็บมาถือเป็นภาษี ซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากเป็นภาษีซื้อที่ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อ หากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ทั้งนี้ ตามมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/5 (1) (2) (3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 กรณีตาม 3 และ 4 ถ้าบริษัท ว. ปฏิเสธความรับผิดทั้งหมดกับกรมศุลกากร และ กรณีบริษัทฯ ใช้สิทธิไล่เบี้ยบริษัท ว. โดยยื่นฟ้องต่อศาล และได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า บริษัทฯ ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยค่าปรับ บริษัทฯ ยังคง มีสิทธินำค่าปรับตาม 1 มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ กรณีบริษัท ว.ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหาย กับบริษัทฯ หากคดีถึงที่สุดโดยคำพิพากษาว่า หรือคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล โดยระบุ ให้บริษัทฯ ต้องเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายตามฟ้องแย้ง ถือได้ว่า เป็นผลเสียหายอันเกิดจากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากกิจการ บริษัทฯ มี สิทธินำผลเสียหายดังกล่าวนอกเหนือจากค่าปรับตาม 1 มาหักเป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) และมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | :69/34277 |