เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./5768
วันที่:6 กรกฎาคม 2549
เรื่อง:ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ข้อกฎหมาย:มาตรา 77/1(1),(10) และมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ:              บริษัท ว. จำกัด เป็นผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (freight forwarder) ทั้งทางเรือและทางอากาศโดยให้บริการแก่ลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับการนำเข้าและส่งออกสินค้า ซึ่งในการให้บริการจำเป็นต้องทำสัญญาหรือประสานความร่วมมือกับ freight forwarder ในประเทศต่าง ๆ บริษัทฯ ขอหารือเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับรายรับและรายจ่ายบางกรณีดังต่อไปนี้
             1. ค่าธรรมเนียมการแยกห่อ (Break bulk fee) ในการจัดส่งสินค้าออกจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น บริษัทฯ จะประสานความร่วมมือกับบริษัท จ. จำกัด ซึ่งเป็น freight forwarder ในประเทศญี่ปุ่น บริษัทฯ จะออกใบตราส่งในนามของตนเอง (House Bill of Lading) สำหรับสินค้าของลูกค้าแต่ละรายในใบตราส่ง (Master Bill of Lading) จะปรากฏชื่อบริษัทฯ เป็นผู้ส่งสินค้าและบริษัทฯ จะเป็นทั้งผู้รับสินค้า และเป็นผู้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับสุดท้ายปลายทางตามที่ลูกค้ากำหนด ซึ่งระบุไว้ในใบตราส่ง (House Bill of Lading) รวมทั้งต้องจัดการแยกสินค้าที่ส่งรวมกันมานั้นให้ตรงตาม House Bill of Lading เพื่อให้ผู้รับสินค้าสุดท้ายสามารถรับสินค้าและผ่านพิธีการศุลกากรในประเทศของตนได้
             บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด ถูกต้องหรือไม่
             2. ค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรรับ-จ่าย ในการจัดการขนส่งสินค้าขาออก จากผู้ส่งสินค้าที่อยู่ในประเทศไทยไปยังผู้รับสินค้าในต่างประเทศ บริษัทฯ ต้องประสานความร่วมมือกับ freight forwarder ในต่างประเทศ ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้
                   2.1 กรณีค่าระวางขนส่งเรียกเก็บต้นทางจากผู้ส่งสินค้าในประเทศไทยบริษัทฯ จัดการขนส่งสินค้าขาออกแก่ผู้ส่งสินค้า และเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ส่งสินค้าในประเทศไทยพร้อมค่าระวางขนส่ง ทั้งนี้ ค่าระวางขนส่งได้ตกลงตามที่ประมูลแล้ว จึงสามารถเรียกเก็บตามอัตราที่กำหนดแล้วนั้น และต้องจ่ายค่าระวางขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการเดินเรือหรือสายการบิน หรือ freight forwarder อื่นแล้วแต่กรณี ส่วนผลกำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากผลต่างของค่าระวางขนส่งที่เรียกเก็บได้กับต้นทุนค่าระวางขนส่งที่จ่ายจริงนั้นจะต้องแบ่งกันตามข้อตกลงระหว่างบริษัทฯ กับ freight forwarder ในต่างประเทศดังตัวอย่างต่อไปนี้
                   2.1.1 ค่าระวางขนส่งที่ตกลงเรียกเก็บได้ 200 บาท บริษัทฯ จะออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บค่าระวางขนส่งจากผู้ส่งสินค้าในประเทศไทยจำนวน 200 บาท และรับรู้รายได้ค่าระวางขนส่งเต็มจำนวน ถ้าต้นทุนค่าระวางขนส่งเป็น 100 บาท บริษัทฯ จะได้กำไร 100 บาท กำไรจำนวนนี้ต้องแบ่งให้แก่ freight forwarder ในต่างประเทศครึ่งหนึ่งตามข้อตกลงร่วมกัน ดังนั้น freight forwarder ในต่างประเทศจะออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บส่วนแบ่ง 50 บาท บริษัทฯ รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในบัญชีค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรจ่าย
                   2.1.2 ค่าระวางขนส่งที่ตกลงเรียกเก็บได้ 200 บาท แต่ต้นทุนค่าระวางขนส่งเป็น 250 บาท เนื่องจากการปรับราคาของผู้ประกอบการเดินเรือหรือสายการบิน แต่บริษัทฯ ไม่สามารถเรียกเก็บเพิ่มเติม เพราะราคาที่ตกลงนั้นเป็นราคาประมูลสำหรับช่วงเวลาที่ตกลงกันล่วงหน้า จึงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จะมีผลขาดทุนทันที 50 บาท ในกรณีนี้ freight forwarder ในต่างประเทศ จะออกใบลดหนี้ให้บริษัทเพื่อชดเชยผลขาดทุน 25 บาท และบริษัทฯ ได้รับรู้เป็นรายได้ในชื่อบัญชีค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรรับ
             2.2 ค่าระวางขนส่งเรียกเก็บปลายทางจากผู้รับสินค้าในต่างประเทศบริษัทฯ จัดการขนส่งสินค้าขาออกเสร็จสิ้นแล้ว จะออกใบแจ้งหนี้ให้ freight forwarder ในต่างประเทศเพื่อเรียกเก็บค่าระวางขนส่ง โดยแสดงต้นทุนค่าระวางขนส่ง บริษัทฯ และ freight forwarder ในต่างประเทศจะตกลงร่วมรับผิดชอบในผลกำไรหรือขาดทุนจากค่าระวางขนส่งที่เรียกเก็บได้กับต้นทุนค่าระวางขนส่ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
                   2.2.1 ค่าระวางขนส่งที่ตกลงเรียกเก็บได้ 200 บาท ต้นทุนค่าระวางขนส่ง 100 บาท กรณีนี้มีกำไร 100 บาท freight forwarder ในต่างประเทศจะออกใบแจ้งหนี้ (Debit Note) เรียกเก็บค่าระวางขนส่งจำนวน 200 บาท จากผู้รับสินค้า ส่วนบริษัทฯ จะออกใบแจ้งหนี้ให้ freight forwarder ในต่างประเทศเรียกเก็บต้นทุนค่าระวางขนส่ง 100 บาท พร้อมส่วนแบ่งกำไรครึ่งหนึ่งคือ 50 บาท รวมทั้งสิ้น 150 บาท และลงบัญชีเป็นรายได้ค่าระวางขนส่ง 100 บาท และค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรรับ 50 บาท
                   2.2.2 ค่าระวางขนส่งที่ตกลงเรียกเก็บได้ 200 บาท แต่ต้นทุนค่าระวางขนส่งเป็น 250 บาท กรณีนี้จะมีผลขาดทุน 50 บาท บริษัทฯ จะออกใบแจ้งนี้เรียกเก็บไปยัง freight forwarder ในต่างประเทศ โดยแสดงรายการค่าระวางขนส่ง 250 บาท ตามราคาต้นทุน หักด้วยผลขาดทุนกึ่งหนึ่ง คือ 25 บาท รวมเงินที่เรียกเก็บ 225 บาท ทั้งนี้ บริษัทรับรู้รายได้ค่าระวางที่ 250 บาท และรับรู้รายจ่ายค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรจ่ายจำนวน 25 บาท
             ;กรณีทั้ง 2.1 และ 2.2 บริษัทฯ และ freight forwarder ในต่างประเทศ จะร่วมมือกันและแบ่งสรรระหว่างกันทั้งผลกำไรและขาดทุนจากค่าระวางสินค้าที่เรียกเก็บได้กับต้นทุนค่าระวางที่จ่ายจริง บริษัทฯ เข้าใจว่า รายได้ (ส่วนแบ่งกำไร) และรายจ่าย (ส่วนแบ่งผลขาดทุน) ข้างต้นไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
แนววินิจฉัย:             1. กรณีตาม 1. การประกอบกิจการของห้างฯ ตามข้อเท็จจริงข้างต้น เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ เว้นแต่กรณีที่ได้ออกใบกำกับภาษีก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการ ก็ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้ ตามมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มยังไม่เกิดขึ้น ห้างฯ ยังไม่มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี ต่อมาห้างฯ ได้รับสินค้ากลับคืนมาเพื่อนำไปแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดที่ตกลงกัน ห้างฯ ไม่มีหน้าที่ต้องออกใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
             1. กรณีตาม 1. บริษัท จ. เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการแยกห่อ เป็นค่าบริการในการทำหน้าที่เป็นผู้รับสินค้า แยกสินค้า และเป็นผู้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ ซึ่งเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและไม่ได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ถือเป็นการให้บริการนอกราชอาณาจักรไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
เลขตู้:69/34348

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./5768
วันที่:6 กรกฎาคม 2549
เรื่อง:ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ข้อกฎหมาย:มาตรา 77/1(1),(10) และมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ:              บริษัท ว. จำกัด เป็นผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (freight forwarder) ทั้งทางเรือและทางอากาศโดยให้บริการแก่ลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับการนำเข้าและส่งออกสินค้า ซึ่งในการให้บริการจำเป็นต้องทำสัญญาหรือประสานความร่วมมือกับ freight forwarder ในประเทศต่าง ๆ บริษัทฯ ขอหารือเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับรายรับและรายจ่ายบางกรณีดังต่อไปนี้
             1. ค่าธรรมเนียมการแยกห่อ (Break bulk fee) ในการจัดส่งสินค้าออกจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น บริษัทฯ จะประสานความร่วมมือกับบริษัท จ. จำกัด ซึ่งเป็น freight forwarder ในประเทศญี่ปุ่น บริษัทฯ จะออกใบตราส่งในนามของตนเอง (House Bill of Lading) สำหรับสินค้าของลูกค้าแต่ละรายในใบตราส่ง (Master Bill of Lading) จะปรากฏชื่อบริษัทฯ เป็นผู้ส่งสินค้าและบริษัทฯ จะเป็นทั้งผู้รับสินค้า และเป็นผู้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับสุดท้ายปลายทางตามที่ลูกค้ากำหนด ซึ่งระบุไว้ในใบตราส่ง (House Bill of Lading) รวมทั้งต้องจัดการแยกสินค้าที่ส่งรวมกันมานั้นให้ตรงตาม House Bill of Lading เพื่อให้ผู้รับสินค้าสุดท้ายสามารถรับสินค้าและผ่านพิธีการศุลกากรในประเทศของตนได้
             บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด ถูกต้องหรือไม่
             2. ค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรรับ-จ่าย ในการจัดการขนส่งสินค้าขาออก จากผู้ส่งสินค้าที่อยู่ในประเทศไทยไปยังผู้รับสินค้าในต่างประเทศ บริษัทฯ ต้องประสานความร่วมมือกับ freight forwarder ในต่างประเทศ ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้
                   2.1 กรณีค่าระวางขนส่งเรียกเก็บต้นทางจากผู้ส่งสินค้าในประเทศไทยบริษัทฯ จัดการขนส่งสินค้าขาออกแก่ผู้ส่งสินค้า และเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ส่งสินค้าในประเทศไทยพร้อมค่าระวางขนส่ง ทั้งนี้ ค่าระวางขนส่งได้ตกลงตามที่ประมูลแล้ว จึงสามารถเรียกเก็บตามอัตราที่กำหนดแล้วนั้น และต้องจ่ายค่าระวางขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการเดินเรือหรือสายการบิน หรือ freight forwarder อื่นแล้วแต่กรณี ส่วนผลกำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากผลต่างของค่าระวางขนส่งที่เรียกเก็บได้กับต้นทุนค่าระวางขนส่งที่จ่ายจริงนั้นจะต้องแบ่งกันตามข้อตกลงระหว่างบริษัทฯ กับ freight forwarder ในต่างประเทศดังตัวอย่างต่อไปนี้
                   2.1.1 ค่าระวางขนส่งที่ตกลงเรียกเก็บได้ 200 บาท บริษัทฯ จะออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บค่าระวางขนส่งจากผู้ส่งสินค้าในประเทศไทยจำนวน 200 บาท และรับรู้รายได้ค่าระวางขนส่งเต็มจำนวน ถ้าต้นทุนค่าระวางขนส่งเป็น 100 บาท บริษัทฯ จะได้กำไร 100 บาท กำไรจำนวนนี้ต้องแบ่งให้แก่ freight forwarder ในต่างประเทศครึ่งหนึ่งตามข้อตกลงร่วมกัน ดังนั้น freight forwarder ในต่างประเทศจะออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บส่วนแบ่ง 50 บาท บริษัทฯ รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในบัญชีค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรจ่าย
             2.1.2 ค่าระวางขนส่งที่ตกลงเรียกเก็บได้ 200 บาท แต่ต้นทุนค่าระวางขนส่งเป็น 250 บาท เนื่องจากการปรับราคาของผู้ประกอบการเดินเรือหรือสายการบิน แต่บริษัทฯ ไม่สามารถเรียกเก็บเพิ่มเติม เพราะราคาที่ตกลงนั้นเป็นราคาประมูลสำหรับช่วงเวลาที่ตกลงกันล่วงหน้า จึงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จะมีผลขาดทุนทันที 50 บาท ในกรณีนี้ freight forwarder ในต่างประเทศ จะออกใบลดหนี้ให้บริษัทเพื่อชดเชยผลขาดทุน 25 บาท และบริษัทฯ ได้รับรู้เป็นรายได้ในชื่อบัญชีค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรรับ
             2.2 ค่าระวางขนส่งเรียกเก็บปลายทางจากผู้รับสินค้าในต่างประเทศบริษัทฯ จัดการขนส่งสินค้าขาออกเสร็จสิ้นแล้ว จะออกใบแจ้งหนี้ให้ freight forwarder ในต่างประเทศเพื่อเรียกเก็บค่าระวางขนส่ง โดยแสดงต้นทุนค่าระวางขนส่ง บริษัทฯ และ freight forwarder ในต่างประเทศจะตกลงร่วมรับผิดชอบในผลกำไรหรือขาดทุนจากค่าระวางขนส่งที่เรียกเก็บได้กับต้นทุนค่าระวางขนส่ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
                   2.2.1 ค่าระวางขนส่งที่ตกลงเรียกเก็บได้ 200 บาท ต้นทุนค่าระวางขนส่ง 100 บาท กรณีนี้มีกำไร 100 บาท freight forwarder ในต่างประเทศจะออกใบแจ้งหนี้ (Debit Note) เรียกเก็บค่าระวางขนส่งจำนวน 200 บาท จากผู้รับสินค้า ส่วนบริษัทฯ จะออกใบแจ้งหนี้ให้ freight forwarder ในต่างประเทศเรียกเก็บต้นทุนค่าระวางขนส่ง 100 บาท พร้อมส่วนแบ่งกำไรครึ่งหนึ่งคือ 50 บาท รวมทั้งสิ้น 150 บาท และลงบัญชีเป็นรายได้ค่าระวางขนส่ง 100 บาท และค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรรับ 50 บาท
                   2.2.2 ค่าระวางขนส่งที่ตกลงเรียกเก็บได้ 200 บาท แต่ต้นทุนค่าระวางขนส่งเป็น 250 บาท กรณีนี้จะมีผลขาดทุน 50 บาท บริษัทฯ จะออกใบแจ้งนี้เรียกเก็บไปยัง freight forwarder ในต่างประเทศ โดยแสดงรายการค่าระวางขนส่ง 250 บาท ตามราคาต้นทุน หักด้วยผลขาดทุนกึ่งหนึ่ง คือ 25 บาท รวมเงินที่เรียกเก็บ 225 บาท ทั้งนี้ บริษัทรับรู้รายได้ค่าระวางที่ 250 บาท และรับรู้รายจ่ายค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรจ่ายจำนวน 25 บาท
             ;กรณีทั้ง 2.1 และ 2.2 บริษัทฯ และ freight forwarder ในต่างประเทศ จะร่วมมือกันและแบ่งสรรระหว่างกันทั้งผลกำไรและขาดทุนจากค่าระวางสินค้าที่เรียกเก็บได้กับต้นทุนค่าระวางที่จ่ายจริง บริษัทฯ เข้าใจว่า รายได้ (ส่วนแบ่งกำไร) และรายจ่าย (ส่วนแบ่งผลขาดทุน) ข้างต้นไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
แนววินิจฉัย:             1. กรณีตาม 1. การประกอบกิจการของห้างฯ ตามข้อเท็จจริงข้างต้น เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ เว้นแต่กรณีที่ได้ออกใบกำกับภาษีก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการ ก็ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้ ตามมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มยังไม่เกิดขึ้น ห้างฯ ยังไม่มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี ต่อมาห้างฯ ได้รับสินค้ากลับคืนมาเพื่อนำไปแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดที่ตกลงกัน ห้างฯ ไม่มีหน้าที่ต้องออกใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
             1. กรณีตาม 1. บริษัท จ. เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการแยกห่อ เป็นค่าบริการในการทำหน้าที่เป็นผู้รับสินค้า แยกสินค้า และเป็นผู้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ ซึ่งเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและไม่ได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ถือเป็นการให้บริการนอกราชอาณาจักรไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
              ;2. กรณีตาม 2. บริษัทฯ รับจัดการขนส่งสินค้าขาออกและเรียกเก็บค่าบริการการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพร้อมทั้งค่าระวางขนส่งตามที่ได้ตกลงเรียกเก็บกันแน่นอนตั้งแต่ก่อนให้บริการ ดังนั้น หลังจากการให้บริการมีผลกำไรหรือขาดทุนจากค่าระวางสินค้าที่เรียกเก็บได้กับต้นทุนค่าระวางที่จ่ายจริง จึงไม่ถือเป็นค่าตอบแทนจากการขายสินค้าหรือให้บริการระหว่างบริษัทฯ กับ freight forwarder ในต่างประเทศตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรและขาดทุนดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
เลขตู้:69/34348

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020