เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./8297
วันที่: 4 ตุลาคม 2549
เรื่อง: ข้อหารือปัญหาภาษีมูลค่าเพิ่มค่าตอบแทนสิทธิค่าเช่าช่วง
ข้อกฎหมาย:       มาตรา 81(1)(ต) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ

:      บริษัทฯ ได้ทำสัญญาเช่าช่วงที่ดินจากผู้ให้เช่าช่วง โดยสัญญาเช่ากำหนดให้บริษัทฯ ชำระ ค่าตอบแทนสิทธิการเช่าช่วงจำนวน 4,500,000 บาท โดยจ่ายให้ผู้ให้เช่าช่วงในวันที่จดทะเบียน การเช่า หลังจากนั้นบริษัทฯ มีหน้าที่จ่ายค่าเช่าให้ผู้ให้เช่าช่วงเดือนละ 42,000 บาท ทุกวันที่ 1 ของเดือน โดยชำระเป็นเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าครั้งละ 12 เดือน ส่งมอบเช็คทุกวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีตลอดอายุสัญญาเช่า
      บริษัทฯ เข้าใจว่า ค่าตอบแทนสิทธิการเช่าช่วงที่จ่ายให้ผู้ให้เช่าช่วง ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า เพราะบริษัทฯ ยังคงเป็นผู้เช่าที่ดินจากผู้ให้เช่าช่วง และยังคงม ีหน้าที่จ่ายค่าเช่าให้ผู้ให้เช่าช่วงตลอดอายุสัญญาเช่า ประกอบกับในการจดทะเบียนการเช่า เจ้าพนักงานที่ดินได้นำค่าตอบแทนสิทธิการเช่าช่วงมารวมกับค่าเช่ารายเดือนตลอดอายุสัญญาเช่า เป็นค่าเช่าที่ดินเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการเช่า บริษัทฯ ไม่ได้จ่ายค่าตอบแทน สิทธิการเช่าช่วง เพื่อรับโอนสิทธิการเช่าช่วงมาจากผู้ให้เช่าช่วงแต่อย่างใด
       ดังนั้น ผู้ให้เช่าช่วง จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าตอบแทนสิทธิการเช่าช่วงดังกล่าว รวมทั้งไม่มีสิทธิ เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทฯ

แนววินิจฉัย

:      กรณีบริษัทฯ ได้ทำสัญญาเช่าช่วงที่ดินจากผู้ให้เช่าช่วง ซึ่งถือว่าเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ อย่างหนึ่งอันเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ต) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ให้เช่าช่วงจึงไม่ต้องนำค่าตอบแทนสิทธิการเช่าช่วงที่ได้รับจากบริษัทฯ ไปคำนวณเสียภาษี มูลค่าเพิ่มและไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทฯ

เลขตู้:69/34546

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020