เลขที่หนังสือ | : กค 0706/8707 |
วันที่ | : 17 ตุลาคม 2549 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการหรือผู้ถือหุ้น |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 65 ตรี (3)(13) มาตรา 40(4) มาตรา 48(1) และมาตรา 56(5) แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | : กรณีบริษัทประสงค์จะทำประกันชีวิตให้กรรมการ หรือผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยบริษัทเป็นผู้ชำระเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต และเป็นผู้รับผลประโยชน์จากเงินค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิตโดยมีข้อตกลงว่า ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการเสียชีวิตของผู้ถือหุ้นบริษัทจะนำไปซื้อหุ้นคืนจากครอบครัวของผู้ถือหุ้นที่เสียชีวิต จึงขอทราบว่า |
แนววินิจฉัย | : กรณีตาม 1 และ 3 เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตของกรรมการที่บริษัทจ่ายไป หากเป็นกรณีที่บริษัทต้องจ่ายให้กับกรรมการทุกคน เป็นการทั่วไปตามระเบียบของบริษัทแล้ว บริษัทมีสิทธินำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตของกรรมการที่บริษัทจ่ายแทนนั้น เข้าลักษณะเป็นประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกรรมการต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48(1) และมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนผู้ถือหุ้น เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่เป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา บริษัทไม่มีสิทธินำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้นมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากรนอกจากนั้น เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทน เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งผู้ถือหุ้นจะต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในปีภาษีที่บริษัทจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตนั้น |
เลขตู้ | :69/34596 |