เลขที่หนังสือ | : กค 0706/8621 |
วันที่ | : 16 ตุลาคม 2549 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินค่าตอบแทนตามสัญญารับจ้างเลี้ยงสุกร |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | : เกษตรกรผู้รับจ้างเลี้ยงสุกรได้ทำสัญญาเพื่อรับจ้างเลี้ยง ผสมพันธุ์ |
แนววินิจฉั | : กรณีตามข้อเท็จจริง เงินได้จากการรับจ้างเลี้ยงสุกรของเกษตรกรเข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายได้เป็นการเหมาใน อัตราร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี หากเกษตรกรผู้รับจ้างเลี้ยงสุกรมีหลักฐานในการประกอบกิจการให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ได้ประกอบ กิจการในรูปแบบของการทำธุรกิจและสามารถพิสูจน์รายจ่ายในการประกอบกิจการได้ เช่น ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้จัดตั้งสำนักงานในการประกอบกิจการโดยมีกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือ ได้เช่าจากบุคคลอื่นโดยมีหลักฐานการเช่ามาแสดง มีการลงทุนด้วยการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อ เลี้ยงสุกร มีการจ้างลูกจ้างโดยมีหลักฐานการจ้างแรงงาน หลักฐานการจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคม ตามกฎหมายประกันสังคม มีหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งหรือในกรณีไม่มีภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายและนำส่งจะต้องมีหลักฐานเกี่ยวกับการยื่นรายการเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงานตามแบบ ภ.ง.ด.1 ก ต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น ค่าตอบแทนที่เกษตรกรผู้รับจ้างเลี้ยงสุกรได้รับมาจึงจะเข้าลักษณะเป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร โดยให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 |
เลขตู้ | :69/34575 |