เมนูปิด

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 104)

เรื่อง    กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร

 

---------------------------------------------

 

                อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 87/1 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดให้ผู้ประกอบการ จดทะเบียนจัดทำรายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้

 

                ข้อ 1  ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับ ที่ 23) เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานแตกต่างไปจากรายงาน ตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 51) เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2537

 

                ข้อ 2  ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังต่อไปนี้ จัดทำรายงานภาษีขายตาม มาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร แตกต่างไปจากรายงานภาษีขายที่มีรายการและ ข้อความตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร

                           (1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าที่คำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี จะปรับปรุงบัญชีดังกล่าวเป็นรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยเพิ่มช่องรายการ  ชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ  และ  จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม  ลงในบัญชีนั้นก็ได้

                           (2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นบุคคลธรรมดา และคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร หากขายสินค้าเป็นเงินสดเพียง อย่างเดียว ให้บริการเป็นเงินสดเพียงอย่างเดียว หรือให้บริการทั้งกรณีเป็นเงินสดและ เงินเชื่อ จะปรับปรุงบัญชีเงินสดซึ่งต้องจัดทำอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี เป็น รายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยเพิ่มช่องรายการ  ชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ  และ  จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม  ลงในบัญชีเงินสด ทางด้านเงินสดรับก็ได้

 

                ข้อ 3  ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ตามมาตรา 87(3) แห่งประมวล รัษฎากร แต่จะต้องทำการตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 30 มิถุนายน ของปี และวันที่ 31 ธันวาคมของปี และกรอกรายการสินค้าคงเหลือในแบบรายละเอียดสินค้าคงเหลือ โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และให้ถือว่าแบบรายละเอียดสินค้าคงเหลือเป็นรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร

                           ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับกับผู้ประกอบการจดทะเบียนดังต่อไป

                           (1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการโรงเลื่อย โรงค้าไม้ แปรรูป และกิจการอื่นใดซึ่งต้องจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้

                           (2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการค้าของเก่า ซึ่งต้องจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า

                           (3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน ประเภทร้านค้าปลอดอากร ซึ่งต้องจัดทำบัญชีแยกประเภทสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

                           (4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมาย ว่าด้วยปิโตรเลียม

                           (5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าให้แก่

                                 (ก) ผู้ทำสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย

                                 (ข) ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการซึ่งได้ทำสัญญาเป็นหนังสือโดยตรงกับผู้ทำสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วม ไทย-มาเลเซีย

 

                ข้อ 4  กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งนอกจากมีสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่แล้ว ยังมีสถานประกอบการอื่นอีกหลาย แห่งที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและ วัตถุดิบของสถานประกอบการแห่งอื่นรวมกัน ณ สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ได้

                           (1) สถานประกอบการแต่ละแห่งเป็นรถเข็น แผงลอย หน่วยขายที่มี ลักษณะเป็นร้านค้าย่อย หรือที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ประกอบกิจการอยู่เป็นประจำใน สถานที่เช่า ซึ่งได้จ่ายค่าเช่าเป็นรายวันหรือตามสัญญาเช่า

                           (2) สถานประกอบการแต่ละแห่งเป็นรถเข็น แผงลอย หน่วยขายที่มี ลักษณะเป็นร้านค้าย่อย หรือที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทางเดินทั่วไปที่มี ผู้คนสัญจรไปมา หรือภายในบริเวณอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า หรือ ภายในบริเวณศูนย์อาหารของอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าหรือสถานที่ ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน

                           การจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถจัดทำรวมกับสำนักงานใหญ่เพียงรายงาน ฉบับเดียว ซึ่งรวบรวมการขายสินค้าหรือการให้บริการ การซื้อสินค้าหรือการรับบริการ และการรับหรือจ่ายสินค้าหรือวัตถุดิบ ของสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่และสถาน ประกอบการแห่งอื่น โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และต้องเก็บรักษาไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่

 

                "ข้อ 5   ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 4 จะต้องยื่นคำขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ตามแบบคำขออนุมัติจัดทำรายงานตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้

                ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง จะต้องยินยอมให้ เจ้าพนักงานสรรพากรเข้าไปติดแถบเครื่องหมายแสดงการได้รับอนุมัติไว้ ณ ที่เปิดเผย ซึ่งเห็น ได้ง่าย กรณีแถบเครื่องหมายดังกล่าวชำรุดเสียหาย หรือสูญหาย ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นคำร้องขอรับแถบเครื่องหมายจากสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ทันที"

( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 147) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )

 

                ข้อ 6  ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งไม่ต้องนำค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2(3) (4) (5) (9) และ (12) ของประกาศอธิบดี กรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่า ตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 102) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมา รวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2543 จัดทำรายงานภาษีขาย โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบ ท้ายประกาศนี้

 

                "ข้อ 7  ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งไม่ต้องนำค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรอืการให้บริการ มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2(14) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 106) เรื่องกำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2543 จัดทำรายงานภาษีขาย โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้"

 

                “ข้อ 8   ให้ผู้ประกอบการที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/13 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร จัดทำรายงานภาษีขายและรายละเอียดของธุรกรรมประกอบการจัดทำรายงานภาษีขาย โดยต้องมีรายการและข้อความตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2564 เป็นต้นไป)

 

                ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป

 

ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2543

 

ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ

อธิบดีกรมสรรพากร

 

ภาพแบบ   แบบรายละเอียดสินค้าคงเหลือ

ภาพรายงาน   รายงานภาษีขาย

ภาพรายงาน   รายงานภาษีซื้อ

ภาพรายงาน   รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 104

ภาพแบบ   แบบคำขออนุมัติ (ภ.พ.14)

ภาพเอกสาร   เอกสารแนบ ภ.พ.14

ภาพรายงาน   รายงานภาษีขาย (ข้อ 6)

ภาพรายงาน   รายงานภาษีขาย (ข้อ 7)

 

ปรับปรุงล่าสุด: 10-02-2022