| ||||||||
ด้วยมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ต้องนำเงินภาษที่ตนมีหน้าที่หักไปส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่จ่ายเงินไม่ว่าจะได้หักภาษีไว้แล้วหรือไม่ มาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ นำส่งภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรนำส่งภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่จำหน่ายเงินกำไร มาตรา 83/5 และมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือ ค่าบริการให้กับผู้ประกอบการบางประเภท ต้องนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตนมีหน้าที่ต้องนำส่งไปส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวัน และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้รับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ต้องนำส่งเงินภาษี มูลค่าเพิ่มที่ตนมีหน้าที่ต้องเสียภายในสามสิบวัน นับแต่ความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้น โดยที่การจ่ายเงินได้พึงประเมินบางประเภท การจำหน่ายเงินกำไร การขายทอดตลาด การจ่ายเงินซื้อสินค้าหรือค่าบริการ และการรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการดังกล่าว ในเดือนหนึ่ง ๆ อาจมีหลายคราว ย่อมเป็นภาระและไม่สะดวกแก่ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และผู้มี หน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หรือนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงสมควรขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษี เงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนำส่งภาษีเงินได้หรือการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และารยื่นรายการสำหรับกรณีดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงประกาศไว้ดังต่อไปนี้ | ||||||||
| ||||||||
หน้าจอหลักบริการสารสรรพากร : : หน้าจอหลัก ส.ค.44 : : หน้าก่อน: : หน้าต่อไป |