เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/9948
วันที่: 1 ธันวาคม 2549
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญ
ข้อกฎหมาย: กฎกระทรวง ฉบับที่ 186
ข้อหารือ:      บริษัทฯ ประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายเครื่องเสียง ปัจจุบันบริษัทฯ ได้หยุดประกอบกิจการดังกล่าว เนื่องจากกิจการประสบผลขาดทุนอย่างต่อเนื่องไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีก บริษัทฯ มีนโยบายที่จะเลิกกิจการ และชำระบัญชีโดยผู้ชำระบัญชีบริษัทฯ ได้ร้องขอต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งว่า บริษัทฯ ล้มละลายเนื่องจากมีทรัพย์สินไม่เพียงพอชำระหนี้สิน ตามมาตรา 1266 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
      1. กรณีบริษัทฯ ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าหนี้ของบริษัทฯ แต่ละรายที่มียอดมูลหนี้เกิน 500,000 บาทขึ้นไป ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยบริษัทฯ ซึ่งเป็นลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งหมดแล้วตามข้อ 4(3) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2512 เจ้าหนี้ของบริษัทฯ สามารถจำหน่ายหนี้สูญของบริษัทฯ ได้ ถูกต้องหรือไม่
      2. กรณีบริษัทฯ ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าหนี้ของบริษัทฯ แต่ละราย ที่มียอดมูลหนี้ไม่เกิน 500,000 บาท ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้และศาลได้มีคำสั่งรับคำขอรับชำระหนี้นั้นแล้วตามข้อ 5 (3) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186ฯ แล้ว เจ้าหนี้ของบริษัทฯ มีสิทธิจำหน่ายหนี้สูญของบริษัทฯ ได้ถูกต้องหรือไม
แนววินิจฉัย:       การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในกรณีที่หนี้มีจำนวนเกิน 500,000 บาท ขึ้นไป ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ของลูกหนี้ในประเทศหรือต่างประเทศจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ 4 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534
      ดังนั้น กรณีผู้ชำระบัญชีของบริษัทฯ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งว่า บริษัทฯ เป็นบุคคลล้มละลาย กรณีจึงไม่เข้าเงื่อนไขตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ที่กำหนดให้เจ้าหนี้ที่จะทำการจำหน่ายหนี้สูญต้องฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งด้วยตนเอง หรือเจ้าหนี้ดังกล่าวได้ยื่นคำขอเฉลี่ยในคดีที่ลูกหนี้นั้นถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง
เลขตู้: 69/34664

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020