เลขที่หนังสือ | : กค 0706/พ./2497 |
วันที่ | : 28 กุมภาพันธ์ 2550 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของคนต่างด้าว |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 77/1(10) มาตรา 85/1 มาตรา 82(1) มาตรา 88(6) และประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 57)ฯ |
ข้อหารือ | : 1. กรณีบุคคลธรรมดาที่เป็นคนต่างด้าว ประกอบกิจการประเภทให้บริการที่พัก โดยมีบ้านพัก 4 หลัง และมีรายรับเกิน 1,800,000 บาท ต่อปี มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจาก ไม่มีใบอนุญาต ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ตามข้อ 5 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 จึงขอทราบว่า |
แนววินิจฉัย | : 1. ผู้ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จะขอจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ได้หรือไม่นั้น พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มาตรา 5 บัญญัติว่า การอนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พิจารณา โดยคำนึงถึงผลดีและผลเสียต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน... มาตรา 8(3) ห้ามมิให้ คนต่างด้าวประกอบธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับ คนต่างด้าว ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีสาม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการ ดังนั้น เมื่อคนต่างด้าวยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่มีใบอนุญาต ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี มูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57)ฯ ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ข้อ 5(1) เจ้าพนักงานสรรพากรจึงไม่อาจ รับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 6 วรรคสอง 2. คนต่างด้าวประกอบกิจการให้บริการที่พัก ถือเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่ง ประมวลรัษฎากร หากมูลค่าฐานภาษีเกิน 1,800,000 บาท ต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ฐานภาษีเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ตามมาตรา 85/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจของ คนต่างด้าว จึงไม่สามารถจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ และไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน จึงไม่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยังคงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม มาตรา 82(1) แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มได้ตามมาตรา 88(6) แห่งประมวลรัษฎากร ่ |
เลขตู้ | : 70/34807 |