เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/2431
วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2550
เรื่อง:ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม กรณีกำไรจากสัญญาประกันความเสี่ยง
ข้อกฎหมาย: พรบ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2512 มาตรา 22(5) มาตรา 23 มาตรา 40(8) และมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ

:               บริษัท ก.(บริษัทฯ) ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม และอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เนื่องจากในปัจจุบัน ราคาปิโตรเลียมในตลาดโลกรวมทั้งในประเทศไทย มีความผันผวน เป็นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงของความผันผวนดังกล่าว บริษัทฯ จึงมีความจำเป็นต้องเข้าทำ สัญญาประกันความเสี่ยง (เช่น ทำสัญญา Swap) โดยไม่มีการส่งมอบสินค้า (Cash Settlement) ตามสัญญา ดังกล่าว จะมีการกำหนดราคาปิโตรเลียมไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ สามารถกำหนดราคาขายปิโตรเลียม ของบริษัทฯ ได้แน่นอน อย่างไรก็ดี บริษัทฯ อาจมีกำไรหรือขาดทุนจากสัญญาประกันความเสี่ยงนั้น ซึ่งจะ ขึ้นอยู่กับราคาตลาดของปิโตรเลียมต่ำหรือสูงกว่าราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้ การเข้าทำสัญญาประกัน ความเสี่ยงดังกล่าว เกิดจากความจำเป็นในการประกอบกิจการปิโตรเลียมของบริษัทฯ โดยแท้ และบริษัทฯ จะเข้าทำสัญญาในปริมาณที่ไม่เกินกว่าปริมาณปิโตรเลียมที่แท้จริงของบริษัทฯ เท่านั้น บริษัทฯ หารือว่า
               1. กำไรจากสัญญาประกันความเสี่ยงดังกล่าว ถือเป็นเงินได้อื่นใดที่ได้รับเนื่องจากการประกอบ กิจการปิโตรเลียมตามมาตรา 22(5) แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และบริษัทฯ ต้อง นำเงินได้ดังกล่าว มารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในอัตราร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ หรือบริษัทฯ จะต้องนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 ตามประมวลรัษฎากร และกรณีบริษัทฯ มีผลขาดทุนจากสัญญาประกันความเสี่ยง บริษัทฯ มีสิทธินำผล ขาดทุนดังกล่าว มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมได้ภายใต้เงื่อนไข ของมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หรือจะต้องนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
               2. กรณีบริษัทฯ จ่ายกำไรจากสัญญาประกันความเสี่ยงออกไปให้กับบริษัทต่างประเทศที่มิได้ประกอบ กิจการในประเทศไทย บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ถูกต้องหรือไม่

แนววินิจฉัย:               1. บริษัทฯ เข้าทำสัญญาประกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาปิโตรเลียมเป็นการเข้าทำสัญญา ตามความจำเป็นของการประกอบกิจการปิโตรเลียมของบริษัทฯ โดยปริมาณปิโตรเลียมตามสัญญาประกัน ความเสี่ยง จะไม่เกินปริมาณปิโตรเลียมที่แท้จริงของบริษัทฯ ดังนั้น กรณีบริษัทฯ มีกำไรจากสัญญาประกัน ความเสี่ยง กำไรดังกล่าว ถือเป็นเงินได้อื่นใดที่บริษัทฯ ได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมตาม มาตรา 22(5) แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 บริษัทฯ ต้องนำเงินได้ดังกล่าว มารวม คำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในอัตราร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ และหากบริษัทฯ มีผล ขาดทุนจากสัญญาประกันความเสี่ยงดังกล่าว บริษัทฯ มีสิทธินำผลขาดทุนมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมได
้                2. เนื่องจากเงินได้จากสัญญาประกันความเสี่ยงดังกล่าว เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวล รัษฎากร และโดยที่สัญญาประกันความเสี่ยงเป็นสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน ซึ่งไม่เข้าลักษณะการขาย สินค้าหรือการให้บริการ ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินได้ดังกล่าวออกไปให้บริษัทต่างประเทศ ซึ่งมิได้ ประกอบกิจการในประเทศไทย บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
เลขตู้: 70/34803

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020