เมนูปิด

คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ป. 101/2543

เรื่อง      ค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึง ได้รับจากการขายสินค้าที่ไม่ต้องนำมารวม คำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร

 

---------------------------------------------

 

                เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนว ทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนำ ผู้ประกอบการจดทะเบียน กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้า ให้แก่ผู้ซื้อใน ประเทศโดยสินค้าดังกล่าวผู้ ประกอบการจดทะเบียนที่ขายต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ได้โอนสินค้าดังกล่าวให้ ผู้ซื้อเป็นผู้กระทำพิธีการนำเข้าและ ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อ เจ้าพนักงานศุลกากรตามมาตรา 83/8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบ การจดทะเบียนไม่ต้องนำมูลค่าของ สินค้าที่ขายมารวมคำนวณ เป็นมูลค่าของฐานภาษี เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำ มารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 80) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2541 กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งต่อไปนี้

 

                ข้อ 1  การขายสินค้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนำมูลค่าของ สินค้าที่ขายมารวมคำนวณเป็น มูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม มาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้

                        (1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็น ผู้ขายต้องเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

                        (2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้าที่ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ให้แก่ผู้ซื้อในประเทศ

                        (3) ผู้ซื้อซึ่งนำเข้าสินค้าได้มีการชำระ ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ตามมาตรา 83/8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

                        (4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้า จะต้องมีหลักฐานสำเนาใบเสร็จ รับเงินของกรมศุลกากรที่ออกให้ผู้ ซื้อเก็บรักษาไว้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ

                     ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งไม่ต้องออก ใบกำกับภาษีเพื่อเรียก เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อเมื่อความ รับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่มีหน้าที่ต้องออกใบรับตามมาตรา 105 หรือใบส่งของ ตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี

 

                ข้อ 2  กรณีการนำเข้าสินค้าซึ่งผู้ซื้อไม่ มีการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงาน ศุลกากรเนื่องจากผู้ซื้อได้วางเงินประกัน หลักประกัน หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันเพื่อเป็น ประกันภาษีมูลค่าเพิ่มแทนการชำระภาษี หรือผู้ซื้อได้นำเข้าสินค้าที่จำแนกประเภทไว้ใน ภาคว่าด้วยของที่ได้รับยก เว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยก เว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(2)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร ถือได้ว่า ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ นำเข้าไม่ได้ชำระภาษี มูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ตามมาตรา 83/8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้า จึงไม่มีสำเนาใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร ที่ออกให้ผู้ซื้อให้เจ้าพนักงาน ประเมินตรวจสอบ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องออก ใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากผู้ซื้อเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูล ค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา78(1) แห่งประมวลรัษฎากร และต้องนำมูลค่าของสินค้าที่ ขายมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

 

                ข้อ 3  กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าให้แก่ผู้ ซื้อในประเทศโดย การขายสินค้าดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไข ที่กำหนดในข้อ 1 แต่ผู้ประกอบการ จดทะเบียนได้รับชำระเงินล่วง หน้าหรือเงินมัดจำบางส่วนจากผู้ซื้อและได้ออก ใบกำกับภาษีเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากเงินล่วงหน้าหรือเงินมัดจำนั้นแล้วก่อน วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ต่อมามีการนำเข้าสินค้าที่ขาย โดยผู้ประกอบการ จดทะเบียนได้โอนสินค้าให้ผู้ซื้อเป็น ผู้กระทำพิธีการนำเข้าและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อเจ้าพนักงานศุลกากรตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2541 เป็นต้นไป ให้ผู้ประ กอบการจดทะเบียนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในวรรคสอง ของข้อ 1 สำหรับมูลค่าของสินค้าส่วนที่ยังไม่ได้รับชำระราคา

 

                ข้อ 4  ในการตรวจสอบภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน ไม่ว่าการตรวจ คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม การตรวจปฏิบัติการ หรือตรวจสอบทั่วไป สำหรับการขายสิน ค้าที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศซึ่ง ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้โอนสินค้าให้ผู้ซื้อ เป็นผู้กระทำพิธีการนำเข้าและชำระ ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากรก่อนวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2541 ถ้าการขายสินค้าดังกล่าวเข้า ลักษณะและเงื่อนไขตามข้อ 1(1) ถึง (3) แล้ว ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนจะ ได้นำมูลค่าของสิน ค้าที่ขายไปรวมคำนวณมูลค่าของฐาน ภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่ก็ตาม ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ปฏิบัติ ถูกต้องแล้ว

 

                ข้อ 5  การขายสินค้าซึ่งผู้ซื้อได้นำเข้าและ ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนัก งานศุลกากรตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2541 เป็นต้นไป หากการขายสินค้าดัง กล่าวเข้าลักษณะและเงื่อนไขตาม ข้อ 1(1) ถึง (4) แล้ว ผู้ประกอบการจดทะ เบียนที่ขายสินค้าไม่ต้องนำมูลค่าของ สินค้าที่ขายมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของ ฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ต้องออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อเมื่อความ รับผิดในการเเสียภาษีมูลค่า เพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ไม่ว่ามูลค่าของสินค้าตามสัญญาจะสูงหรือ ต่ำกว่าฐานภาษีจากการนำเข้าสินค้าดังกล่าว

                        ตัวอย่าง ผู้ประกอบการจดทะเบียนทำสัญญาขายสินค้าราคา 10,000 บาท โดยโอนสินค้าให้ผู้ซื้อเป็นผู้นำเข้า ฐานภาษีจากการนำเข้าสินค้า ได้แก่ ราคา ซี.ไอ.เอฟ. บวกด้วยอากรขาเข้า บวกด้วยค่าธรรมเนียมอื่นจำนวน 9,000 บาท ผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่ขายสินค้านั้น ไม่ต้องนำส่วนต่างของราคาสินค้าตามสัญญาและฐานภาษี จากการนำเข้าสินค้าจำนวน 1,000 บาท (10,000 - 9,000) มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ต้องออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้ออีก

 

                ข้อ 6  กรณีการขายสินค้าพร้อมกับการให้บริการ เช่น การขายสินค้าตามสัญญาซื้อขายแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นผู้จัดหาสินค้า ตลอดจนทำการขนส่ง ติดตั้ง อบรมพนักงาน เป็นต้น หากการขายสินค้าในลักษณะดังกล่าว ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศและได้โอนสินค้าให้ผู้ซื้อเป็นผู้นำเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าตามสัญญาในส่วนของสินค้าซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร

                        การขายสินค้าพร้อมกับการให้บริการตามวรรคหนึ่ง กระทำได้ดังนี้

                              (1) กรณีทำสัญญาโดยแยกราคาสินค้าและค่าบริการออก ต่างหากจากกัน ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนำ มูลค่าของสินค้าส่วนที่นำเข้าจากต่างประเทศที่โอน ให้ผู้ซื้อเป็นผู้นำเข้า มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม

                              ตัวอย่าง ผู้ประกอบการจดทะเบียนทำสัญญาขายเครื่องจักรพร้อม ติดตั้ง โดยแยกเป็นราคาเครื่องจักรพร้อมอุปกรณ์ และค่าติดตั้ง ดังนี้

                                  ค่าเครื่องจักร (นำเข้าจากต่างประเทศ)     200,000     บาท

                                  ค่าอุปกรณ์ (นำเข้าจากต่างประเทศ)           20,000     บาท

                                  ค่าอุปกรณ์ (ภายในประเทศ)                      30,000     บาท

                                  ค่าติดตั้ง                                                  50,000     บาท

                             ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ขาย ไม่ต้องนำมูลค่าตามสัญญาของเครื่องจักรและอุปกรณ์ส่วนที่นำเข้าจากต่างประเทศที่โอนให้ผู้ซื้อเป็นผู้นำเข้า จำนวน 220,000 บาท มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

                              (2) กรณีทำสัญญาโดยไม่แยกราคาสินค้าและค่าบริการ ผู้ประกอบการจดทะ เบียนไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าส่วนที่นำ เข้าจากต่างประเทศที่โอนให้ผู้ซื้อเป็นผู้นำเข้า มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

                              ตัวอย่าง ผู้ประกอบการจดทะเบียนทำสัญญาขายเครื่องจักร พร้อมติดตั้ง ราคา 200,000 บาทโดยโอนให้ผู้ซื้อเป็นผู้นำเข้าเครื่องจักร ฐานภาษีในการนำเข้าเครื่องจักร ได้แก่ ราคา ซี.ไอ.เอฟ. บวกด้วยอากรขาเข้า บวกด้วยค่าธรรมเนียมอื่นจำนวน 150,000 บาท ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ขายไม่ ต้องนำมูลค่าของเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศจำนวน 150,000 บาท ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

สั่ง ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543

 

ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล

อธิบดีกรมสรรพากร

 

ปรับปรุงล่าสุด: 10-02-2022