เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/9044
วันที่: 4 กันยายน 2550
เรื่อง: ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีโอนที่ดินให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342)ฯ
ข้อหารือ        นาย จ.ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของศาลจังหวัด จำนวน 2 แปลง ต่อมาได้รวมที่ดินทั้ง 2แปลงแล้วแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวโดยมีการวางผัง แบ่งแปลง จัดให้มีถนนปักเสาไฟฟ้าและวางท่อประปา นาย จ. ได้ขายที่ดินแปลงย่อยไป ในปี 2538 รวม 11 แปลง ในปี2541 รวม 4 แปลง ในปี 2545 และ ในปี 2546 รวม 21 แปลงและได้โอนที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่บุตร ในปี 2545 รวม 49 แปลงเข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับมาตรา 3(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่244) พ.ศ. 2534 และมาตรา 4(4)แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541่
แนววินิจฉัย        ตามคำพิพากษา ศาลฎีกาที่ 4798/2549 มารดาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่บุตรไปภายในห้าป เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 3(6)แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534ศาลถือเป็นการขายแต่ไม่ใช่ทำเป็นการค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีภาษีธุรกิจเฉพาะแต่ตามหนังสือกรมสรรพากรบิดาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่บุตรเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เฉพาะกรณีที่มีการแบ่งขายหรือมีการแบ่งแยกไว้เพื่อขายโดยได้จัดทำถนนหรือสิ่งสาธารณูปโภคอื่นตามมาตรา4(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541ดังนั้นสภาพของที่ดินที่ยกให้แก่บุตรตามคำพิพากษาต่างกับกรณีตามข้อหารือและเมื่อการขายอสังหาริมทรัพย์เฉพาะที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมใดเข้าลักษณะตามมาตรา 4(1) - (5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342)พ.ศ. 2541ย่อมถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจะได้รับการยกเว้นตามมาตรา 4(6) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวหรือไม่ นายจ.จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับมาตรา 4(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
เลขตู้: 70/35262

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020