เมนูปิด

          ภาษีมูลค่าเพิ่มเรื่องฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศรายบริษัทผู้รับจัดการขนส่งสินค้าออกนอกประเทศซึ่งในการประกอบกิจการบริษัทตัวแทนในต่างประเทศได้แจ้งให้บริษัทฯ เป็นผู้รับจัดการขนส่งสินค้าให้กับผู้ส่งของออกนอกประเทศ (Shipper) โดยมีข้อตกลงแบ่งกำไรจากการให้บริการกับตัวแทนในต่างประเทศในอัตราร้อยละ 50 ของค่าบริการ และบริษัทฯ จะต้องทดรองจ่ายค่าระวางให้กับสายการเดินเรือไปก่อนแล้ว จึงเรียกเก็บจากตัวแทนในต่างประเทศพร้อมกับค่าธรรมเนียมตามที่ตกลงกันส่วนค่าภาระท่าเรือ ค่าใบตราส่ง บริษัทฯ จะทดรองจ่ายแทนผู้ส่งของไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินทดรองจ่ายคืนในภายหลัง


          บริษัทฯ จึงขอทราบว่า


          1. บริษัทฯ นำส่วนต่างระหว่างค่าระวางและค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการกับที่บริษัทฯ จ่ายให้กับสายการเดินเรือมารวมกับส่วนแบ่งกำไรและเงินค่าตอบแทนที่ได้รับจากบริษัทตัวแทนในต่างประเทศตามสัญญาเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มถูกต้องหรือไม่


          2. กรณีบริษัทฯ เป็นผู้รับจัดการขนส่งสินค้าจาก Shipper โดยบริษัทฯ เป็นผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าโดยเรือเดินทะเล (Forwarder) ที่เป็นผู้รับจัดการบรรจุรวมตู้ บริษัทฯ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 จากค่าบริการที่คำนวณจากส่วนต่างระหว่างค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่บริษัทฯ เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการกับที่สายการเดินเรือเรียกเก็บบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่


          3. บริษัทฯ เป็นตัวแทนจัดการขนส่งให้กับตัวแทนต่างประเทศ กรณีการขนส่งขาออก บริษัทฯได้รับส่วนแบ่งกำไร (Handing Fee) จากต่างประเทศโดยการตกลงมูลค่าระวางที่ซื้อขายเกิดขึ้นในต่างประเทศและบริษัทฯ จะไม่รู้ราคาที่แท้จริง เมื่อเรียกเก็บค่าระวางจึงไม่ได้ระบุค่าระวางหรือค่าธรรมเนียมอื่นใดไว้ในใบตราส่ง บริษัทฯ จึงนำค่าส่วนแบ่งกำไร (Handing Fee) ที่ได้รับมาถือเป็นรายได้และเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ถูกต้องหรือไม่ และ


          4.การให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือทะเลซึ่งเรียกเก็บค่าระวางทั้งในประเทศ (Freight Prepaid) และต่างประเทศ (Freight Collect) บริษัทฯ ต้องนำรายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการที่เป็นส่วนต่างระหว่างค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นๆ ที่เรียกเก็บจากผู้รับบริการกับที่สายการเดินเรือเรียกเก็บจากบริษัทฯ มาเป็นรายได้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ถูกต้องหรือไม่

          หากบริษัทฯ ไม่ได้มีการกระทำใดๆ ที่แสดงหรือชี้ว่า บริษัทฯมีนิติสัมพันธ์ตามสัญญารับขนกับลูกค้า กรณีจึงถือว่า บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบกิจการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเลอันอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 65 มาตรา 77/2 และมาตรา 79/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี ซึ่งการคำนวณหารายได้เพื่อนำมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือการคำนวณหาฐานภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นให้บริษัทฯ นำเงินที่เรียกเก็บจากลูกค้าผู้ใช้บริการเป็นเงินค่าระวาง ค่าธรรมเนียม หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงให้ชำระหรือคำนวณหามูลค่ากันอย่างไร มาหักออกด้วยเงินค่าระวาง ค่าธรรมเนียมหรือประโยชน์อื่นใดที่ถูกสายการเดินเรือเรียกเก็บ

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./10314
วันที่: 12 ตุลาคม 2550
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีฐานภาษีสำหรับการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 มาตรา 77/2 และมาตรา 79/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
แนววินิจฉัย
เลขตู้: 70/35371

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020