เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/8986
ลงวันที่: 5 กันยายน 2550
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีผู้มีเงินได้ครบเกษียณอายุงาน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(1)(2) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ        การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) (2) แห่งประมวลรัษฎากรผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินต้องคำนวณหักตามวิธีการตามมาตรา 50(1)แห่งประมวลรัษฎากรโดยให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายเพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีซึ่งสหภาพแรงงานฯ เห็นว่า มาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากรไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนเกี่ยวกับผู้เกษียณอายุผู้ปฏิบัติงานโดยตรงและโดยความเป็นจริง การเกษียณอายุผู้ปฏิบัติงานในปีใดนั้น จะมีรายได้เพียง 9เดือน เนื่องจากใช้หลักเกณฑ์การเกษียณอายุผู้ปฏิบัติงานให้พ้นจากตำแหน่งในวันที่ 1ตุลาคมของทุกปี ดังนั้นการคำนวณเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีเสมอ ซึ่งต้องคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายคือ 12 เสมอ จึงไม่ถูกต้อง สหภาพแรงงานฯ
        จึงขอทราบว่า
        การคำนวณเงินได้พึงประเมินให้เป็นไปตามความเป็นจริงในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายสำหรับผู้เกษียณอายุผู้ปฏิบัติงานสามารถดำเนินการได้หรือไม่หากไม่สามารถดำเนินการได้ขอได้โปรดนำเสนอแก้กฎหมายต่อไป
แนววินิจฉัย        กรณีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรต้องคำนวณหักตามวิธีการตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากรโดยให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่ต้องจ่ายเพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีเสมอไม่ว่าผู้มีเงินได้จะเกษียณอายุระหว่างปีหรือไม่ก็ตาม กรณีหน่วยงานจ่ายเงินเดือนเป็นรายเดือน การคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับผู้เกษียณอายุผู้ปฏิบัติงานต้องคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายคือ 12 เสมอเพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่า ได้จ่ายทั้งปี โดยไม่คำนึงว่า ผู้เกษียณอายุผู้ปฏิบัติงานจะทำงานเต็มปีหรือไม่ก็ตาม
เลขตู้: 70/35256

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020