เมนูปิด


          2. ขั้นตอนการส่งออกสินค้าไปแสดงในต่างประเทศ บริษัทฯ ส่งออกไปตาม Invoice ระบุชื่อผู้รับเป็นบริษัท ซ. จำกัด หรือ M ชื่องานที่นำสินค้าไปแสดง เลขที่บูธ และระบุว่าเป็นสินค้าประเภท For Show หรือConsignment โดยสินค้าดังกล่าว M เป็นผู้ผ่านพิธีการออกสินค้าในต่างประเทศ และส่งสินค้าให้กับนาย C ซึ่งมีฐานะเป็นพนักงานของบริษัทฯ เพื่อนำสินค้าไปออกงานแสดงสินค้า เมื่องานเสร็จสิ้นก็จะนำสินค้าตัวอย่างส่งให้กับ Gemstar ที่ประเทศอังกฤษ เพื่อ เก็บรักษาสินค้าที่นำไปแสดงทั้งหมดและเป็นผู้ติดต่อนำสินค้าดังกล่าวไปเสนอขายให้กับลูกค้าในต่างประเทศ สินค้าจะไม่ส่งกลับมายังประเทศไทย


          3. บริษัทฯ มีรายจ่ายค่านายหน้าค้างจ่ายจำนวน 99,817,639.30 บาท ซึ่งเป็นค่านายหน้ายอดยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีปี 2546 จำนวน 8,101,485.10 บาท และเป็นค่านายหน้ารอบระยะเวลาบัญชีปี 2547 จำนวน 41,716,154.20 บาท เป็นการจ่ายให้กับ G ที่ประเทศอังกฤษ


          4. จากการตรวจเอกสารรอบระยะเวลาบัญชีปี 2547 บริษัทฯ คำนวณค่านายหน้าในอัตราร้อยละ 17 ถึงร้อยละ 18 จากการขายสินค้าในทุก Invoice ค่านายหน้าที่บริษัทฯ จ่ายออกไปในต่างประเทศสูงกว่าค่าใช้จ่ายในส่วนของการผลิต และเงินเดือนพนักงานที่ต้องจ่ายในประเทศไทย และค่านายหน้าที่จ่ายเป็นจำนวนสูงผิดปกติสำหรับค่านายหน้าของบริษัทฯ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 ถึงรอบระยะเวลาบัญชีปี 2548 ได้มีการชำระไปแล้วบางส่วนในปี 2549


          จึงต้องนำ ยอดส่งออกสินค้าดังกล่าวมาเป็นมูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มและมีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ทั้งนี้ ตามมาตรา 79/1 และมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร


          2. กรณีรายจ่ายค่านายหน้า หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัทฯ มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า มีการจ่ายค่านายหน้าให้กับ G จริง ย่อมถือเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของบริษัทฯ บริษัทฯ จึงนำมาเป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (9) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ประการใด ส่วนกรณีค่านายหน้าดังกล่าวสูงเกินจริงหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องดำเนินการตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 113/2545 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกรณีการกำหนดราคาโอนให้เป็นไปตามราคาตลาด ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ต่อไป

เลขที่หนังสือ: กค 0706/11160
วันที่: 6 พฤศจิกายน 2550
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการส่งออกสินค้าตัวอย่าง
ข้อกฎหมาย: มาตรา 70 ตรี และมาตรา 77/1(8)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          1. บริษัท ซ. ประกอบกิจการผลิตเพื่อส่งออกตามคำสั่งซื้อสินค้าประเภทจิวเวลรี่ ตัวเรือนทำจากทองคำ 18K ประดับเพชรและพลอยแท้ เช่น แหวน สร้อย กำไล ต่างหู และจี้ โดยส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศในแถบทวีปยุโรปและเอเชีย รายได้หลักของบริษัทฯ มาจากการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ และมีการส่งสินค้าออกไปเพื่อแสดงในงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สวิสเซอร์แลนด์ และแคนาดาเป็นต้น สินค้าที่ส่งออกไปแสดงในงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ จะไม่มีการส่งกลับมายังประเทศไทย แต่จะให้ G ในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นนายหน้าในการขายสินค้าเป็นผู้ดูแลเก็บรักษา
แนววินิจฉัย          1. ตามสัญญาตัวแทนการค้า ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 1990) ระหว่าง บริษัทฯ กับ G ระบุว่า บริษัทฯ จ้าง G เป็นตัวแทนการค้าที่จะหาลูกค้า และขายสินค้าของบริษัทฯ ทั่วโลก ยกเว้นภายในประเทศไทย การที่บริษัทฯ ส่งสินค้าประเภทจิวเวลรี่ไปต่างประเทศผ่านพิธีการศุลกากรโดยระบุว่า เป็นสินค้าประเภท For Show หรือ Consignment โดยส่งสินค้าให้กับนาย C พนักงานของบริษัทฯ เพื่อนำสินค้าไปออกงานแสดงสินค้า เมื่องานแสดงสินค้า เสร็จสิ้นลงก็จะส่งสินค้าดังกล่าวให้กับ G ที่ประเทศอังกฤษเพื่อเก็บรักษาสินค้าและเสนอขายให้กับลูกค้าในต่างประเทศต่อไป โดยสินค้าดังกล่าวจะไม่ส่งกลับมายังประเทศไทยกรณีจึงเป็นการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่ตัวแทนหรือลูกจ้าง ให้ถือว่าการที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยด้วย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในระยะเวลาบัญชีที่ส่งไปนั้น ตามมาตรา 70 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมิใช่เป็นกรณีที่ส่งไปเป็นตัวอย่างโดยเฉพาะ ตามมาตรา 70 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น กรณีนี้บริษัทฯ จึงต้องนำมูลค่าของสินค้าดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรและการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศดังกล่าว ถือเป็นการขายโดยการส่งออก ตามมาตรา 77/1 (8)(ค) และมาตรา 77/1 (14) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ
เลขตู้: 70/35421

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020