เมนูปิด


          1. บริษัทฯ เป็นผู้ผลิต จำหน่าย และส่งออกกระจกแผ่นลวดลาย โดยมียอดขายต่างประเทศประมาณร้อยละ 85 ของยอดขาย ส่วนในประเทศจะขายให้กับโครงการบ้านเอื้ออาทรและโครงการบ้านมั่นคงในระหว่างเดือนกันยายน 2540 ถึงเดือนเมษายน 2541 บริษัทฯ ได้ขายสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศอียิปต์ราย บริษัท อ. จำกัด และ Mr. K กรรมการบริษัท อ. แต่ได้รับชำระค่าสินค้าเพียงบางส่วนคงค้างเป็นเงิน 471,869.90 เหรียญสหรัฐอเมริกา คิดเป็นเงินไทย 20,545,215.44 บาท บริษัทฯ ได้ติดตามทวงถามจากลูกหนี้หลายครั้งแต่ลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ บริษัทฯ จึงยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2547 ให้บริษัท อ. จำเลยที่ 1 และ Mr. K จำเลยที่ 2 ลูกหนี้ร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี


          2. โดยเหตุที่ลูกหนี้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศอียิปต์ คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินฯ ไม่อาจใช้บังคับในประเทศอียิปต์ได้ เนื่องจาก ไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศหรือความตกลงทวิภาคีรองรับกระทรวงการต่างประเทศจึงแนะนำให้บริษัทฯ ดำเนินคดีในประเทศอียิปต์ ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการการดำเนินคดีในศาลอียิปต์ แต่กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงไคโร ไม่สามารถให้ข้อมูลในเรื่องค่าใช้จ่าย ระยะเวลาความเป็นไปได้ที่จะมีโอกาสชนะคดีและการบังคับชำระหนี้ บริษัทฯ จึงมิได้ดำเนินคดีในประเทศอียิปต์


          บริษัทฯ จึงขอทราบว่า บริษัทฯ มีสิทธิจำหน่ายหนี้สูญตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินฯ จำนวนเงิน 471,869.90 เหรียญสหรัฐ ออกจากบัญชีลูกหนี้ โดยหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2550 ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ได้หรือไม่


          2. กรณีบริษัทฯ จะดำเนินการจำหน่ายหนี้สูญจำนวนเงิน 471,869.90 เหรียญสหรัฐอเมริกา โดยได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ต่างประเทศเป็นคดีแพ่งในศาลทรัพย์สินฯ ถ้าได้มีคำบังคับหรือคำสั่งศาลแล้วแต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ ที่อยู่ในประเทศไทยจะชำระหนี้ได้ บริษัทฯ ย่อมจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้และถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและ ขาดทุนสุทธิได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 4(2) และข้อ 7 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ

เลขที่หนังสือ: กค 0706/11436
วันที่: 14 พฤศจิกายน 2550
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ทวิ (9) ข้อ 4(21) และข้อ 7 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ
ข้อหารือ
          บริษัท ก.หารือภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้
แนววินิจฉัย          1. การจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 500,000 บาท ขึ้นไป ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นหนี้ของลูกหนี้ในประเทศหรือต่างประเทศ จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 4 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 สำหรับกรณีที่เจ้าหนี้จะดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่ง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ 4(2) ของกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวนั้น เนื่องจาก ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายหรือข้อตกลงระหว่างประเทศที่กำหนดให้ศาลไทยยอมรับคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลต่างประเทศให้มีผลใช้บังคับในราชอาณาจักรไทยแต่อย่างใด ดังนั้น ในการจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้เจ้าหนี้จึงไม่อาจใช้คำพิพากษา คำบังคับ หรือคำสั่งของศาลต่างประเทศเป็นเอกสารในการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ตามข้อ 4(2) ของกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ได้แต่อย่างใด
เลขตู้: 70/35445

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020