เมนูปิด


          1. บริษัทฯ ได้เข้าไปลงทุนในหุ้นของบริษัท B เป็นจำนวน 127,49,300 บาท โดยบริษัท B ได้นำเงินไปลงทุนต่อในหุ้นของบริษัท C ซึ่งประกอบกิจการประกันวินาศภัยและได้รับอนุญาตจากกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์


          2. ในปี 2546 บริษัท C ประสบภาวะขาดทุนอย่างหนัก และทุนสำรองไม่เพียงพอ กรมการประกันภัยจึงสั่งให้บริษัท C เพิ่มทุนตามระเบียบของกรมการประกันภัย แต่เนื่องจากบริษัท C ประสบผลขาดทุนอย่างต่อเนื่อง และ บริษัทฯ ไม่สามารถหาเงินเพิ่มทุนมาสนับสนุนได้ ดังนั้น เพื่อให้บริษัท C ไม่ถูกระงับกิจการและสามารถหาผู้ถือหุ้นใหม่ที่มีศักยภาพ บริษัท B จึงได้ขายหุ้นในบริษัท C ทั้งหมดโดยได้รับอนุญาตจากกรมการประกันภัย และทำให้บริษัท B มีผลขาดทุนจากการขายหุ้นเกิดขึ้นในปี 2548 ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ จึงได้ให้บริษัทฯ ตั้งสำรองการด้อยค่าของสินทรัพย์ ซึ่งได้แก่ เงินลงทุนในบริษัท B ตามหมายเหตุประกอบงบการเงินของบริษัทฯ ที่บริษัทสำนักงานฯ ในฐานะผู้สอบบัญชีได้รับรองไว้ เป็นจำนวนเท่ากับมูลค่าเงินลงทุนในบริษัท B


          3. ต่อมาในปี 2549 บริษัทฯ ได้ขายหุ้นของบริษัท B ทั้งหมด ให้กับนักลงทุนที่ไม่มีความสัมพันธ์ทั้งในด้านทุนหรือการจัดการกับบริษัทฯ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในราคา 20,925,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าจำนวนที่ผู้สอบบัญชีได้ให้บริษัทฯ ตั้งรายการด้อยค่า และบริษัทฯ จึงมีผลขาดทุนจากการลงทุนในบริษัท B เป็นจำนวน 106,574,300 บาท


          4. บริษัทฯ ขอหารือว่า


          4.1 กรณีที่บริษัทฯ ขายหุ้นบริษัท B และมีผลขาดทุนตามข้อเท็จจริงดังกล่าว หากราคาขายหุ้น เป็นราคาตลาดที่เหมาะสม เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินราคาขายตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ สามารถนำผลขาดทุนจากการขายหุ้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่ขายหุ้นได้ ถูกต้องหรือไม่


          4.2 กรณีที่บริษัทฯ มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น โดยมีนักลงทุนรายใหม่เข้ามาร่วมลงทุนในกิจการของบริษัทฯ อีกทั้งบริษัทฯ ได้ออกหุ้นเพิ่มทุน เพื่อประกอบกิจการอื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ได้จดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์ เช่น กิจการนำเข้า ส่งออกสินค้า บริษัทฯ ยังคงมีสิทธินำผลขาดทุนจากการขายหุ้นตาม 4.1 มาถือเป็นรายจ่ายหักกับรายได้ที่ได้รับจากกิจการใหม่ในการคำนวณกำไรสุทธิภายในห้ารอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร ถูกต้องหรือไม่


          2. กรณีที่บริษัทฯ มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นโดยมีนักลงทุนรายใหม่เข้ามาร่วมลงทุนในกิจการของบริษัทฯ และมีการออกหุ้นเพิ่มทุน เพื่อประกอบกิจการอื่น ๆ เพิ่มเติมนั้นเนื่องจากการประกอบกิจการใหม่ที่เพิ่มขึ้น เป็นการประกอบกิจการภายในบริษัทเดิม ดังนั้น บริษัทฯ จึงสามารถนำผลขาดทุนจากการขายหุ้นตาม 1. มาหักจากรายได้ของกิจการใหม่ในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทฯ ได้ภายในห้ารอบระยะเวลาบัญชีตามเงื่อนไขในมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ: กค 0706/11580
วันที่: 19 พฤศจิกายน 2550
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายผลขาดทุนจากเงินลงทุน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
          บริษัทฯ (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบธุรกิจหลักในการลงทุนในหุ้นของบริษัทอื่น ได้หารือเกี่ยวกับการหักรายจ่ายผลขาดทุนจากเงินลงทุน โดยมีข้อเท็จจริงสรุปได้ ดังนี้
แนววินิจฉัย          1. กรณีที่บริษัทฯ ขายหุ้นบริษัท B ให้กับนักลงทุนที่ไม่มีความสัมพันธ์กับบริษัทฯ ทั้งในด้านทุนหรือการจัดการ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม และมีผลขาดทุนจากการขายหุ้น นั้น หากราคาขายหุ้นดังกล่าวเป็นราคาตลาดที่เหมาะสม เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินราคาขายได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ สามารถนำผลขาดทุนจากการขายหุ้นนั้น มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทฯ ได้ โดยถือเป็นผลเสียหายจากการลงทุนในรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทฯ ขายหุ้นดังกล่าว
เลขตู้: 70/35460

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020