เมนูปิด


          2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสภา ข. ได้ออกใบกำกับภาษี ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2549 ให้แก่บริษัท ก. ถือได้ว่า ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เมื่อได้มีการออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 78 และมาตรา 78/1 แห่ง ประมวลรัษฎากร กรณีธนาคารฯ ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค และสภา ข.ได้รับแคชเชียร์เช็คฉบับใหม่ลงวันที่ 9 เมษายน 2550 ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีฉบับเดิมไม่ถูกยกเลิกไปด้วย มีผลให้สภา ข. ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ให้กับบริษัท ก. ตามที่ร้องขอได้


          กรณีบริษัท ก. ไม่ได้รับใบกำกับภาษีฉบับเดิมที่สภา ข. ได้ออกให้ไปแล้ว หากเกิดจากกรณีใบกำกับภาษีสูญหาย บริษัท ก. มีสิทธิร้องขอให้สภา ข. ออกใบแทนใบกำกับภาษีได้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 36) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้ ใบแทนใบลดหนี้ตามมาตรา 86/12 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ตาม สิ่งที่ส่งมาด้วย


          3. อากรแสตมป์ กรณีการออกใบเสร็จรับเงิน เนื่องจากเช็คฉบับเดิมลงวันที่ 27 ธันวาคม 2549 ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ มีผลให้สภา ข. ไม่ได้รับเงินหรือชำระราคา ใบเสร็จรับเงินฉบับเดิมจึงไม่มีผลบังคับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัท ก. นำแคชเชียร์เช็คฉบับใหม่ลงวันที่ 9 เมษายน 2550 ไปส่งมอบแทน สภา ข. จึงมีหน้าที่ต้องออกใบเสร็จรับเงิน และยกเลิกใบเสร็จรับเงินฉบับเดิมโดยการขีดฆ่าคำว่า "ใบเสร็จรับเงิน" ออก

เลขที่หนังสือ: กค 0706/11803
วันที่: 27 พฤศจิกายน 2550
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินมูลค่าเพิ่ม และอากรแสตมป์ กรณีสมาชิกจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้า
ข้อกฎหมาย: มาตรา 78 มาตรา 78/1 มาตรา 86/12 และมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
          บริษัท ก. ขอให้กรมสรรพากรตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีบริษัท ก. จ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้สภา ข.
แนววินิจฉัย          1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล สภา ข. มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 ไม่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
เลขตู้: 70/35476

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020