เมนูปิด


          1. บริษัทฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาถือเป็นค่าใช้จ่ายในปีที่จ่ายได้ทั้งจำนวน หรือถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน


          2. บริษัทฯ จะนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่


          3. กรณีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นรัฐวิสาหกิจ บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ใช่หรือไม่


          4. บริษัทฯ มีภาระภาษีอื่นอีกหรือไม่ อย่างไร


          2. กรณีบริษัทฯ ออกเงินสมทบพร้อมภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและปรับปรุงระบบสายส่งไฟฟ้าเพื่อแก้ไขปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องหากภาษีซื้ออันเกิดจากรายจ่ายดังกล่าวเป็นภาษีซื้อที่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อดังกล่าวมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้ไม่ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 17) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/5 (1) (2) (3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534


          3. การไฟฟ้าฯ เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มีฐานะ เป็นนิติบุคคลแต่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่ง ประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินค่าก่อสร้างและปรับปรุงระบบสายส่งไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฯ บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/11293
วันที่: 8 พฤศจิกายน 2550
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการก่อสร้างและปรับปรุงระบบสายส่งไฟฟ้า
ข้อกฎหมาย: มาตรา 39 มาตรา 65 ตรี (5) มาตรา 65 ตรี (13) มาตรา 82/3 และมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัท ก. จำกัด ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ เนื่องจากในการประกอบกิจการบริษัทฯ จะประสบปัญหาไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับและกระแสไฟไม่สม่ำเสมอ ทำให้มีผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและคุณภาพของสินค้า บริษัทฯ จึงได้ติดต่อขอให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งการไฟฟ้าฯ ได้มีหนังสือแจ้งวิธีการแก้ไขและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและปรับปรุงระบบสายส่งไฟฟ้า โดยบริษัทฯ จะต้องจ่ายเงินสมทบพร้อมภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จทรัพย์สินดังกล่าวจะตกเป็นของการไฟฟ้าฯ บริษัทฯ เห็นว่า การก่อสร้างปรับปรุงดังกล่าวเป็นการเดินสายส่งจ่ายไฟฟ้าเพื่อแก้ปัญหาให้กับบริษัทฯ เพียงรายเดียว หากบริษัทฯ ไม่รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายดังกล่าว การไฟฟ้าฯ จะไม่ ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ เนื่องจากเป็นการลงทุนที่ไม่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้รายอื่นๆ บริษัทฯ พิจารณา แล้วเห็นว่า หากบริษัทฯ ได้รับประโยชน์โดยตรงและทำให้ผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานที่กำหนดสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ บริษัทฯ จะยินยอมรับภาระในค่าใช้จ่ายดังกล่าว บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
แนววินิจฉัย          1. การพิจารณาว่ารายจ่ายใดเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากรนั้นรายจ่ายดังกล่าวต้องเป็นรายจ่ายเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ และก่อให้เกิดประโยชน์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งกรณีตามข้อเท็จจริงการก่อสร้างและปรับปรุงระบบสายส่งไฟฟ้า แม้ว่าจะอำนวยประโยชน์แก่บริษัทฯ เป็นระยะเวลานานเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีก็ตามแต่เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จทรัพย์สินจะตกเป็นของการไฟฟ้าฯ มิใช่กรรมสิทธิ์ของบริษัทฯ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงไม่ใช่รายจ่ายอันมี ลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากรายจ่ายดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทฯ สามารถนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายการได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 70/35435

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020