เมนูปิด


          เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 บริษัท ฟ. ได้ออกใบลดหนี้ให้แก่บริษัทฯ ด้วยเหตุดังกล่าว โดยมีการลดหนี้ เฉพาะมูลค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม และนำจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่ลดลงนั้นไปรวมกับราคาสินค้า ทำให้ราคาสินค้ารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากราคาขายปลีกที่กำหนดใหม่) ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อแยกจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากราคาสินค้า ทำให้ราคาสินค้ามีมูลค่าสูงขึ้นซึ่งการคำนวณด้วยวิธีการดังกล่าว ทำให้บริษัทฯ ไม่มีภาษีซื้อได้รับคืนจากการออกใบลดหนี้ดังกล่าว


          บริษัทฯ ขอหารือว่า


          1. ใบลดหนี้ของบริษัท ฟ. มีข้อความถูกต้องครบถ้วน หรือไม่


          2. มูลค่าสินค้าที่แสดงไว้ด้านขวาล่างของใบลดหนี้ แสดงราคาขายสุทธิ แต่ตัวเลขเป็นราคาขายรวมภาษี จึงทำให้ไม่เกิดความแตกต่างของราคาขายสุทธิราคาเก่ากับราคาใหม่ ดังนั้นถ้าจะเปลี่ยนคำว่า "ราคาขายสุทธิ" เป็น "ราคาขายรวมภาษี" ได้หรือไม่


          3. การจัดทำรายงานภาษีซื้อสำหรับรายการดังกล่าว จะต้องแสดงในรายงานอย่างไร


          ดังนั้น การที่บริษัท ฟ. คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายยาสูบที่นำเข้าจากต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2550 โดยคำนวณจากฐานราคาขายปลีกตามประกาศกรมสรรพสามิตฉบับเดิม ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศ กรมสรรพสามิตฉบับใหม่แล้ว และบริษัท ฟ. ได้ออกใบกำกับภาษีขายตามราคาขายปลีกดังกล่าว จึงเป็นใบกำกับภาษี ที่ระบุราคาสินค้าไม่ถูกต้อง อันเป็นส่วนสาระสำคัญของใบกำกับภาษี บริษัทฯไม่มีสิทธินำใบกำกับภาษีดังกล่าวไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ ต้องร้องขอให้บริษัท ฟ.ยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม และออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้องให้แก่บริษัทฯ ต่อไป บริษัท ฟ. ไม่มีสิทธิออกใบลดหนี้ เนื่องจากเหตุดังกล่าวมิใช่เหตุที่จะออกใบลดหนี้ เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่ใบลดหนี้แต่เป็นเพียงเอกสารทางการค้า ซึ่งจะจัดทำโดยมี ข้อความอย่างไรก็ได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 82/5(2) มาตรา 82/10 มาตรา 86/4 และมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82) เรื่อง กำหนดเหตุอื่นตามมาตรา 82/10(1)(2)(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2542


          2. กรณีบริษัทฯ ได้รับใบกำกับภาษีฉบับใหม่ ตาม 1. ให้บริษัทฯ ถ่ายเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิม (ฉบับที่ถูกยกเลิก) ติดเรื่องไว้พร้อมทั้งให้หมายเหตุไว้ในรายงานภาษีซื้อของเดือนที่ลงรายงานภาษีซื้อตาม ใบกำกับภาษีฉบับเดิมว่า "มีการยกเลิกใบกำกับภาษีและได้รับใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนแล้ว" และให้เก็บรักษาใบกำกับภาษีฉบับใหม่ไว้ในแฟ้มภาษีซื้อของเดือนภาษีของใบกำกับภาษีฉบับเดิม

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./11503
วันที่: 16 พฤศจิกายน 2550
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบลดหนี้
ข้อกฎหมาย: มาตรา 79/5(2) มาตรา 82/5(2) มาตรา 82/10 มาตรา 86/4 และมาตรา 86/10
ข้อหารือ          บริษัท ส. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประเภทกิจการขายส่งสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการกระจายสินค้า สินค้าที่ขายมีบุหรี่ต่างประเทศรวมอยู่ด้วย ซึ่งฐานที่ใช้คำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับสินค้าดังกล่าว ต้องใช้ราคาขายปลีกตามประกาศของกรมสรรพสามิต ต่อมากรมสรรพสามิตได้มีการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกของยาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรตามประกาศกรมสรรพสามิตเรื่อง กำหนดราคายาสูบที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 30 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป แต่เนื่องจากระบบการออกใบกำกับภาษีซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถแก้ไขให้ทันกับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยใช้ราคาขายปลีกที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดใหม่ บริษัทฯ และ บริษัท ฟ. ซึ่งเป็นผู้ขายยาสูบชนิดดังกล่าวให้แก่บริษัทฯ ต้องใช้ราคาขายปลีกตามประกาศกรมสรรพสามิตฉบับเดิม ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม จนกว่าจะแก้ไขระบบแล้วเสร็จ และจะออกใบลดหนี้ให้ในภายหลัง
แนววินิจฉัย          1. กรณีกรมสรรพสามิตได้ออกประกาศกำหนดราคายาสูบที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรฉบับใหม่และยกเลิกประกาศฉบับเดิม โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป มีผลทำให้การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายยาสูบที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ประกาศกรมสรรพสามิตฉบับใหม่มีผลใช้บังคับ ต้องคำนวณจากฐานราคาขายปลีกตามประกาศกรมสรรพสามิตฉบับใหม่ และออกใบกำกับภาษีขายตามราคาขายปลีก ดังกล่าว ตามมาตรา 79/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 10)เรื่อง กำหนดประเภทและชนิดยาสูบ ซึ่งการขายยาสูบตามประเภทและชนิดดังกล่าวต้องคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 79/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
เลขตู้: 70/35453

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020