เพื่อให้การสั่งงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม บางกรณี เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 38(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 11 และข้อ 13 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 4 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.140/2547 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม บางกรณี ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภาษีกลางหรือผู้รักษาราชการแทน แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไปของสำนักตรวจสอบภาษีกลางเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 5 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.140/2547 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม บางกรณี ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่หรือผู้รักษาราชการแทน แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไปของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 6 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.140/2547 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม บางกรณี ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 254 ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้สรรพากรภาคหรือผู้รักษาราชการแทน แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไปของสำนักงานสรรพากรภาคเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ
ข้อ 4 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป