เมนูปิด

พระราชกฤษฎีกา

ออกตามความในประมวลรัษฎากร

ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 475)

พ.ศ.2551

-------------------------------------

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เป็นปีที่ 63 ในรัชกาลปัจจุบัน

แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10)

พ.ศ. 2496 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 และมาตรา 41 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

สมัคร สุนทรเวช

นายกรัฐมนตรี

(ร.จ. ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 125 ตอนที่ 92 ก วันที่ 6 สิงหาคม 2551)

                              พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
                             โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระยะเวลาการได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
                             อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 187 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3(1)
                            มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 475) พ.ศ. 2551”
                            มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                            มาตรา 3 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้ตาม (ก) ของ (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทตามมาตรา 4 และคงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้เป็นเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551
                             “(1) ร้อยละยี่สิบของกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกินยี่สิบล้านบาทสำหรับบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับหลักทรัพย์จดทะเบียนใน “ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ”
                            (2) ร้อยละยี่สิบห้าของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินสามร้อยล้านบาทสำหรับบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นอกเหนือจากกรณีตาม (1)
                            มาตรา 4 บริษัทที่จะได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 3 จะต้องเป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับและไม่เคยได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 467) พ.ศ. 2550 หรือไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 3(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 460) พ.ศ. 2549
                            มาตรา 5 ในกรณีที่บริษัทตามมาตรา 4 ได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 387) พ.ศ. 2544 อยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ เมื่อได้ใช้สิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลครบห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวแล้ว ให้ได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกานี้ แต่ไม่เกินรอบระยะเวลาบัญชี 2553 ที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
                             มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ: เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ สมควรลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เพื่อกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอันทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 10-02-2022