เมนูปิด
Untitled Document
เลขที่หนังสือ: กค 0702/พ./1315
วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2552
เรื่อง: ภาษีเงินได้ กรณีมูลค่าฐานภาษีที่จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อกฎหมาย: พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 432) มาตรา 77/2(1) มาตรา 79/3 และมาตรา 85/1(1)แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          ห้างฯ ประกอบกิจการให้บริการขนถ่ายสินค้า เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2551 ห้างฯ มีรายรับจำนวน 1,872,105.90 บาท ซึ่งเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนด มูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548 ห้างฯ จึงได้ขอจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 ประสงค์จะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในวันที่ 24 กรกฎาคม 2551 และได้รับ อนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2551 ห้างฯ จึงขอทราบว่า การปฏิบัติต่อไปนี้ ถูกต้องหรือไม่
          1. ห้างฯ มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) สำหรับเดือนภาษีมิถุนายน 2551 ซึ่งต้องยื่นภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 เนื่องจากเข้าใจว่าห้างฯ ยังมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนจึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ออก ใบกำกับภาษี และไม่ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30
          2. ห้างฯ เริ่มยื่นแบบ ภ.พ.30 สำหรับเดือนภาษีกรกฎาคม 2551 โดยนำรายได้ค่าบริการ ตามวันที่ห้างฯ ได้ออก ใบกำกับภาษี นับตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไปมารวมเป็นมูลค่าฐานภาษี
          3. กรณีห้างฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2551 ดังนั้น ก่อนวันที่ 24 กรกฎาคม 2551 ห้างฯ ยังไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน จึงไม่อาจเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อใน แต่ละเดือนภาษี และไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 แต่อย่างใด
แนววินิจฉัย          กรณีห้างฯ ประกอบกิจการให้บริการขนถ่ายสินค้า เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2551 มีรายรับค่าบริการจำนวน 1,872,105.90 บาท ซึ่งเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ตามพระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548 ห้างฯ ได้ยื่นคำขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 และได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อ วันที่ 24 กรกฎาคม 2551ถือเป็นการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษีในการประกอบ กิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ตามมาตรา 85/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากการคำนวณมูลค่าของ ฐานภาษี ให้ถือมูลค่าของฐานภาษีเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 79/3 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในขณะที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของห้างฯ เกิดขึ้น โดยมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบ กิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม นั้น ห้างฯ มิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนและไม่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดง รายการภาษีมูลค่าเพิ่มก็ตาม แต่ห้างฯ ยังคงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งหาก เจ้าพนักงานประเมินพบว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มได้ตามมาตรา 88(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 72/36417

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020