เมนูปิด
Untitled Document
เลขที่หนังสือ: กค 0702/2204
วันที่: 23 มีนาคม 2552
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้ของสมาชิกวุฒิสภาในฐานะกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(2) และมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          ได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับเงินได้ของสมาชิกวุฒิสภาในฐานะกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา ที่จะต้องนำไปคำนวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในส่วนที่เกี่ยวกับเบี้ยประชุม เบี้ยเลี้ยงการเดินทางและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของสมาชิกวุฒิสภาดังกล่าว ทั้งการเดินทางไปราชการภายในประเทศและต่างประเทศที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทน อย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2547 จึงขอทราบว่า เงินได้ดังต่อไปนี้จะ ต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
          1. เบี้ยประชุมและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของคณะกรรมาธิการ
          2. เบี้ยเลี้ยงการเดินทางไปราชการทั้งในและต่างประเทศ
แนววินิจฉัย          สมาชิกวุฒิสภาในฐานะกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา ซึ่งได้รับการเลือกจากสมาชิกวุฒิสภา โดยได้รับเป็นค่าตอบแทน เป็นเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามมาตรา 135 และมาตรา 196 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ดังนั้น
          1. กรณีเบี้ยประชุมและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของคณะกรรมาธิการ ซึ่งเป็นเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ของสมาชิกวุฒิสภาในฐานะกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจาก หน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานนั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราวตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร สมาชิกวุฒิสภาดังกล่าว จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามแบบ ภ.ง.ด. 90 ตามข้อ 2(1) ของประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 28) เรื่อง กำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2531
          2. กรณีค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่สมาชิกวุฒิสภาในฐานะกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา ได้รับเนื่องจากการเดินทางไป ปฏิบัติงานตามหน้าที่ในประเทศหรือต่างประเทศเป็นครั้งคราว หากได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราไม่เกินอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ ทางราชการกำหนดจ่ายให้แก่ข้าราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในประเทศหรือ ต่างประเทศ แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายในลักษณะเหมาจ่าย ให้ถือว่าค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคล ดังกล่าวได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นโดย ไม่ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาพิสูจน์ ค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าว ย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 72/36483

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020