เมนูปิด
Untitled Document
เลขที่หนังสือ: กค 0702/2575
วันที่: 31 มีนาคม 2552
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากค่าทดแทนที่ถูกรอนสิทธิในที่ดิน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(8) มาตรา 42 และมาตรา 77/1(5)(10) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          นาย ก. ได้ทำงานอยู่กับบริษัทฯ เป็นระยะเวลา 1 ปี ต่อมาบริษัทฯ ได้เลิกจ้างนาย ก. โดยให้พ้นจากสภาพการเป็นพนักงาน ของบริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2551 เป็นต้นไป และได้จ่ายเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน จำนวน 268,533.33 บาท โดยแยกได้ ดังนี้
          1. ค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดจำนวน 127,200 บาท
          2. ค่าชดเชยกรณีการบอกเลิกจ้างจำนวน 42,400 บาท
          3. ค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้ใช้จำนวน 14,133.33 บาท
          4. เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้เป็นพิเศษจำนวน 84,800 บาท
          นาย ก. จึงขอทราบว่า เงินได้ที่บริษัทฯ จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตาม 1 ถึง 4 ถือเป็นค่าชดเชยตามกฎหมาย แรงงานที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใช่หรือไม่ และกรณีที่นาย ก. ถูกบริษัทฯ คำนวณหัก ภาษี ณ ที่จ่ายไว้และนำส่งไว้เกินจะขอคืนได้หรือไม่อย่างไร
แนววินิจฉัย          กรณีบริษัทฯ เลิกจ้างนาย ก. โดยได้จ่ายเงินได้ให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน เฉพาะเงินชดเชยที่นาย ก. ได้รับตาม 1. จำนวน 127,200 บาทเท่านั้น ที่เข้าลักษณะเป็นค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน นาย ก. มีสิทธิได้ รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของ การทำงานสามร้อยวันสุดท้าย แต่ไม่เกินสามแสนบาท ตามข้อ 2(51) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร สำหรับเงินชดเชยกรณีการบอกเลิกจ้าง เงินค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้ใช้ และ เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้เป็นพิเศษ ที่นาย ก. ได้รับ ตาม 2 ถึง 4 นั้น เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่ง ประมวลรัษฎากร นาย ก. ต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้นำ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่บริษัทฯ ได้หักและนำส่งไว้ไป หักออกจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะต้องเสียในการยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและหากมีภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้เกินไป ก็มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวได้ ภายใน 3 ปีนับแต่วันสุดท้าย แห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไป ตามมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 72/36512

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020