เลขที่หนังสือ | : กค 0702/พ./1838 |
วันที่ | : 10 มีนาคม 2552 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 82/5(6) และมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | 1. นาย จ. ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างทั่วไป ในปี พ.ศ. 2549 นาย จ. มีรายรับจากการประกอบกิจการถึงเกณฑ์ต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตั้งแต่เดือนภาษีพฤษภาคม 2549 ซึ่งยินยอมที่จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่พร้อมที่จะเข้าระบบภาษี มูลค่าเพิ่ม จึงได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ชำระเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนเบี้ยปรับได้ยื่นคำร้องของดและ ได้รับอนุมัติให้งดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
2. ต่อมาในเดือนภาษีมิถุนายน กันยายน พฤศจิกายน และธันวาคม 2550 นาย จ. มีรายรับรวมจำนวน 1,582,000 บาท แต่ไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 สท. เจ้าพนักงานฯ มีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 88(6) แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือว่า ผู้ประกอบการเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร แต่นาย จ. ไม่ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ได้ชำระภาษี จึงต้องรับผิดชำระ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 จากยอดรายรับและเบี้ยปรับอีกสองเท่าของภาษีที่ต้องเสียพร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อ เดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ทั้งนี้ ตามมาตรา 80 มาตรา 89(1) และ มาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร | แนววินิจฉัย | กรณีนาย จ. ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งเป็นการประกอบกิจการประเภทบริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวล รัษฎากร นาย จ. มีรายรับถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่เดือนภาษีพฤษภาคม 2549 และตามหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย มีรายรับในปี 2549 จำนวน 2,861,400 บาท ซึ่งมีรายรับเกินกว่าหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี นาย จ. จึงมีหน้าที่ต้องจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548 และมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่เดือน ภาษีพฤษภาคม 2549 เจ้าพนักงานฯ จึงต้องประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากนาย จ. ทั้งนี้ ตามมาตรา 88(1) และ (6) มาตรา 89(1) และ (2) และมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 72/36469 |