เมนูปิด
Untitled Document
เลขที่หนังสือ: กค 0702/พ./2896
วันที่: 20 เมษายน 2552
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขอคืนภาษี
ข้อกฎหมาย: มาตรา 88/6(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          1. บริษัทฯ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2539 ประกอบกิจการจำหน่ายเทป แผ่นเสียง ซีดี ดีวีดี และวีซีดีเพลงจากต่างประเทศ ตั้งแต่เดือนภาษีธันวาคม 2542 จนถึงปัจจุบัน บริษัทฯ ไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ
          2. บริษัทฯ ขอคืนภาษีเป็นเงินสด สำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 4,144,761.89 บาท โดยเครดิตตั้งแต่เดือน ภาษีเมษายน 2542 พันยอดมาจนถึงเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งเดือนเมษายน 2542 บริษัทฯ ยื่นแบบแสดงรายการภาษี มูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ในส่วนของยอดขายติดลบจำนวน 3,159,402.23 บาท ภาษีขายติดลบจำนวน 224,206.36 บาท มีใบลดหนี้ จากการขายเพียงจำนวน 101,606.47 บาท
          รายการ          แบบ ภ.พ.30          ผลการตรวจ          ผลต่าง
           ยอดขาย          (3,159,402.23)          (101,606.47)          3,057,795.76
          ภาษีขาย          (224,206.36)          (10,160.66)          214,045.70
          3. บริษัทฯ ไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ แต่จะรับคืนสินค้าเพื่อทำลายตามข้อตกลงกับคู่ค้าในต่างประเทศ ใน การประกอบกิจการดังกล่าว บริษัทฯ มีภาษีซื้อเกิดขึ้นหลังจากนั้นเป็นเวลานานจนถึงเดือนภาษีกรกฎาคม 2547
          4. บริษัทฯ มีเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มพันยอดตั้งแต่เดือนภาษีเมษายน 2542 ถึงเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 4,144,761.89 บาท
          จึงหารือว่า
          1. กรณีตาม 2 เจ้าพนักงานมีอำนาจประเมินเบี้ยปรับเงินเพิ่มได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 88/6 (1)(ค) แห่ง ประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่
          2. กรณีตาม 3 ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นจากกิจการไม่มีรายได้เป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ไม่มีสิทธิขอคืน ใช่หรือไม่
          3. กรณีตาม 4 การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นเครดิตภาษีเกินกว่า 3 ปี บริษัทฯ มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 84/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่
แนววินิจฉัย          1. กรณีผู้ประกอบการได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 แสดงยอดขายต่ำกว่ามูลค่าที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับเป็นจำนวน เกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของฐานภาษีที่แสดงในแบบ ภ.พ.30 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในประเด็นที่ตรวจพบ ภายได้ภายในกำหนดเวลาสิบปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี ตามมาตรา 88/6(1)(ค) แห่ง ประมวลรัษฎากร
          2. กรณีผู้ประกอบการไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ แต่ผู้ประกอบการ มีภาษีซื้อเกิดขึ้น หากการตรวจปฏิบัติการ พบว่า เป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการไม่มีสิทธินำภาษีซื้อนั้นมาหักออกจากภาษีขาย ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
          3. กรณีผู้ประกอบการได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเครดิตภาษีตั้งแต่เดือนภาษีเมษายน 2542 และ ยกเครดิตภาษีพันยอดติดต่อกันมาจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2550 และในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2550 หากผู้ประกอบการไม่ ประสงค์จะยกยอดเครดิตภาษีของเดือนภาษีดังกล่าวไปใช้ในเดือนมีนาคม 2550 ผู้ประกอบการมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2550 ตามมาตรา 84 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 72/36546

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020