เลขที่หนังสือ | : กค 0702/3498 |
วันที่ | : 7 พฤษภาคม 2552 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ราย บริษัท กุลนที จำกัด |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 314) |
ข้อหารือ | 1. บริษัท ก. (บริษัทฯ) จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ประกอบกิจการเดินเรือทะเลระหว่างประเทศ บริษัทฯ เป็นเจ้าของ เรือเดินทะเลจำนวน 1 ลำ จดทะเบียนเป็นเรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทยกับกรมเจ้าท่า
2. ในปี พ.ศ. 2548 ถึง 2549 บริษัทฯ ประกอบกิจการรับขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศโดยดำเนินการขนส่งเอง และในปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา บริษัทฯ ประกอบกิจการขนส่งของทางทะเลแบบ Time Charter โดยมีผู้รับบริการรายเดียวคือ R.H.Pacific Chiping (Agencies) Ltd. (R.H.Pacific) 3. บริษัทฯ มิได้ส่งมอบการครอบครองเรือให้แก่ R.H.Pacific เนื่องจากบริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินการและบริหารเรือเอง โดยบริษัทฯ เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการให้บริการเดินเรือทั้งหมด เช่น การดูแลรักษาเรือ การประกันภัย การจัดหากัปตันเรือ และลูกเรือ การตรวจสภาพเรือ แต่ไม่รวมค่าใช้จ่ายผันแปรอันเนื่องมาจากการใช้เรือ เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายในการเทียบท่า และค่าขนถ่ายสินค้า 4. บริษัทฯ ได้ว่าจ้างคนประจำเรือเป็นคนสัญชาติไทยจำนวน 19 คน จากจำนวนทั้งหมด 22 คน (คิดเป็นร้อยละ 86) ซึ่ง เป็นอัตราที่สูงกว่ากำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย 5. บริษัทฯ ได้ดำเนินการขอรับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่าง ประเทศ ด้วยแบบคำขอจดทะเบียนขอรับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2546 และปรากฏเลขรับเอกสารเลขที่ 4011 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547 โดยสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 6. บริษัทฯ หารือดังนี้ 6.1 บริษัทฯ ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำรายได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศตามสัญญาแบบ time charter ที่บริษัทฯ เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการบริการเดินเรือทั้งหมด ยกเว้นค่าใช้จ่ายผันแปรอันเนื่องมาจากการใช้เรือตามที่กล่าวไว้ ข้างต้น มารวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 314)ฯ หรือไม่ 6.2 กรณีที่บริษัทฯ ได้มีมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น สั่งจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิจากรายได้จากการขนส่งสินค้าทาง ทะเลระหว่างประเทศที่ได้รับยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 314)ฯ นั้น บริษัทฯ ต้องคำนวณหัก ภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรหรือไม่ 6.3 กรณีที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้รับเงินปันผล ตามข้อ 6.2 ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ต้องนำเงินปันผลที่ได้รับ ถือเป็นเงินได้ พึงประเมินเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ | แนววินิจฉัย | 1. หากบริษัทฯ มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 314) พ.ศ. 2540 ประกอบกับประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 72) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้ของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2541 แล้ว บริษัทฯ ย่อมได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ตามมาตรา 3 แห่ง พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
2. ในกรณีที่บริษัทฯ จ่ายเงินปันผลที่อยู่ในข่ายได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 314) พ.ศ. 2540 บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากเงินปันผลดังกล่าว |
เลขตู้ | : 72/36596 |