เมนูปิด
คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตร 48(2) แห่งประมวลรัษฏากร
 
 
คำชี้แจงกรมสรรพากร
เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------
 
                         ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 480) พ.ศ. 2552 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา 48 (2) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้มีภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้นจำนวนไม่เกิน 5,000 บาทในปีภาษีนั้น แต่ผู้มีเงินได้ยังคงมีหน้าที่ในการคำนวณและเสียภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป เพื่อให้การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครั้งนี้เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงในสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
 
                         ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) ถึง (8) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป นอกจากจะต้องคำนวณภาษีตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว (เงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คูณด้วยอัตราภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้) ผู้มีเงินได้จะต้องคำนวณภาษีตามมาตรา 48 (2) แห่งประมวลรัษฎากรด้วย โดยนำเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) ถึง (8) แห่งประมวลรัษฎากรดังกล่าว คูณด้วยอัตราภาษีร้อยละ 0.5 หากมีจำนวนภาษีที่ต้องเสียมากกว่าจำนวนภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร และมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท ผู้มีเงินได้ดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา 48 (2) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ยังคงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามจำนวนที่คำนวณได้ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวอย่าง
                              (1) กรณีภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา 48 (2) แห่งประมวลรัษฎากร มีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท และไม่มีภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
                              ในปีภาษี 2552 นาย ก. เป็นผู้มีเงินได้จากการขายของ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวนทั้งสิ้น 800,000 บาท
การคำนวณตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
เงินได้พึงประเมิน
800,000
บาท
หัก ค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ 80
640,000 
บาท
หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้
30,000 
บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ
130,000 
บาท
หัก เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก (ได้รับยกเว้นภาษี)
150,000 
บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิที่ต้องคำนวณภาษี
บาท
มีภาษีต้องเสียจำนวน (ในอัตราร้อยละ 10)
บาท
การคำนวณตามมาตรา 48 (2) แห่งประมวลรัษฎากร  
เงินได้พึงประเมิน
800,000 
บาท
คูณอัตราภาษีร้อยละ 0.5 คิดเป็นภาษีที่ต้องเสียจำนวน
4,000
บาท
                              ดังนั้น ในปีภาษี 2552 นาย ก. ได้รับยกเว้นภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา 48 (2) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่มีภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด
                              (2) กรณีภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา 48 (2) แห่งประมวลรัษฎากร มีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท และมากกว่าภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
                              ในปีภาษี 2552 นาย ข. เป็นผู้มีเงินได้จากการขายของ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวนทั้งสิ้น 1,000,000 บาท
การคำนวณตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร  
เงินได้พึงประเมิน
1,000,000
บาท
หัก ค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ 80
800,000 
บาท
หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้
30,000 
บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ
170,000 
บาท
หัก เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก (ได้รับยกเว้นภาษี)
150,000 
บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิที่ต้องคำนวณภาษี
20,000
บาท
มีภาษีต้องเสียจำนวน (ในอัตราร้อยละ 10)
2,000 
บาท
การคำนวณตามมาตรา 48 (2) แห่งประมวลรัษฎากร 
เงินได้พึงประเมิน
1,000,000
บาท
คูณอัตราภาษีร้อยละ 0.5 คิดเป็นภาษีที่ต้องเสียจำนวน
5,000 
บาท
                              ดังนั้น ในปีภาษี 2552 นาย ข. ต้องเสียภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวน 2,000 บาท
                              (3) กรณีภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา 48 (2) แห่งประมวลรัษฎากร มีจำนวนทั้งสิ้นเกิน 5,000 บาท และมากกว่าภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
                              ในปีภาษี 2552 นาย ค. เป็นผู้มีเงินได้จากการขายของ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษี 2552 จำนวนทั้งสิ้น 1,100,000 บาท
การคำนวณตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร  
เงินได้พึงประเมิน
1,100,000 
บาท
หัก ค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ 80
880,000
บาท
หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้
30,000
บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ
190,000
บาท
หัก เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก (ได้รับยกเว้นภาษี)
150,000
บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิที่ต้องคำนวณภาษี
40,000
บาท
มีภาษีต้องเสียจำนวน (ในอัตราร้อยละ 10)
4,000
บาท
การคำนวณตามมาตรา 48 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
เงินได้พึงประเมิน
1,100,000
บาท
คูณอัตราภาษีร้อยละ 0.5 คิดเป็นภาษีที่ต้องเสียจำนวน
5,500
บาท
                         ดังนั้น ในปีภาษี 2552 นาย ค. ต้องเสียภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา 48 (2) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวน 5,500 บาท
                         จึงขอชี้แจงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
 
กรมสรรพากร
26 พฤษภาคม 2552
 
สำนักกฎหมาย
โทร. 0-2272-8287-8
 
 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 17-01-2012