เลขที่หนังสือ | : กค 0702/6792 |
วันที่ | : 21 สิงหาคม 2552 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิต |
ข้อกฎหมาย | : ข้อ 2(61) กฎกระทรวง 126ฯ ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 192)ฯ |
ข้อหารือ | กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิต ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่172)เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ย ประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ ตามข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป แต่ท่านได้จ่ายเบี้ยประกันชีวิตตามกรมธรรม์ที่มีเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 112) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิต ของผู้มีเงินได้ ตามข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545 ซึ่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172)ฯ ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 มิได้ครอบคลุมถึง นาง ท. จึงขอทราบว่า
1. การยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตที่นาง ท.จ่ายไปก่อนปี 2551 กับที่ได้จ่ายไป ตั้งแต่ปี 2551 หรือปี 2552 แตกต่างกันอย่างไร 2. ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด.91 ในปีภาษี 2552 ของนาง ท. หากบริษัทประกันชีวิตไม่ได้แยกจำนวนเงิน ที่ท่านจ่ายไปว่า เป็นเบี้ยประกันชีวิตเท่าใดเป็นเบี้ยประกันเพิ่มเติมอย่างอื่นเท่าใดจะต้องดำเนินการอย่างไร | แนววินิจฉัย | การยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172)ฯ ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นั้น ให้ยกเว้นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ เฉพาะ กรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป และเป็นการประกันชีวิตที่ได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัย ที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักรเท่านั้น กรณีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม หากเป็นกรมธรรม์ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ไม่สามารถนำไปใช้คำนวณในการยกเว้นภาษีได้ ทั้งนี้ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่172)ฯ ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากผู้รับประกันภัยที่พิสูจน์ได้ว่า มีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต และกรณีกรมธรรม์ประกันชีวิต ที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมหลักฐานจากผู้รับประกันภัยดังกล่าว ต้องระบุจำนวนเบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันภัยที่จ่าย สำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมแยกออกจากกัน |
เลขตู้ | : 72/36806 |