เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/8739
วันที่: 21 ตุลาคม 2552
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          1. บริษัทฯ ประกอบกิจการรับออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรม มีรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของทุกปี ในการลงบัญชีบริษัทฯ ใช้เกณฑ์คงค้างตามมาตรฐานการบัญชี และใช้สิทธินำรายได้จากการ ประกอบกิจการมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับชำระเงิน ตามข้อ 4.5 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 โดยปรับปรุงรายได้ตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 50) ในแต่ละรอบระยะเวลา บัญชีเป็นรายได้ที่ได้รับชำระเงิน (เกณฑ์เงินสด) มาโดยตลอด ทั้งนี้ ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2547 และปี 2548 บริษัทฯ ได้จำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ จำนวน 63,081,645.25 บาท และจำนวน 11,114,963.71 บาท ตามลำดับ
               1.1 กรณีค่าใช้จ่าย บริษัทฯ ได้นำหนี้สูญมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ แต่เนื่องจากการจำหน่าย หนี้สูญดังกล่าวไม่เป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่าย หนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 บริษัทฯ จึงได้นำมาบวกกลับเป็นรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายใน แต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
               1.2 กรณีรายได้ บริษัทฯ ไม่ได้นำหนี้ที่ได้จำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชี มารับรู้เป็นรายได้ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 เนื่องจาก ยังไม่ได้รับชำระเงินตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528ฯ ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528
          2. ต่อมากรมสรรพากรได้มีคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 155/2549 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และ รายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2549 กำหนดให้บริษัทฯ นำรายได้จากการประกอบ กิจการที่มีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป มารวมคำนวณเป็นรายได้โดยใช้เกณฑ์สิทธิ โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณ ตาม มาตรา 65 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร สท. กรุงเทพมหานคร เห็นว่า กรณีที่บริษัทฯ จำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ โดยมิได้เป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2524)ฯ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 นั้น บริษัทฯ ยังมิได้นำรายได้ จากการประกอบกิจการมารับรู้เป็นรายได้แต่อย่างใด สท. ขอทราบว่า กรณีบริษัทฯ จำหน่ายหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2547 และปี 2548 บริษัทฯ มีหน้าที่นำหนี้สูญที่มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 มารับรู้เป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2550 ตามมาตรา 65 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528ฯ ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 155/2549ฯ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2549 ถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย          กรณีการจำหน่ายหนี้สูญในทางภาษีอากรได้นั้น จะต้องเป็นหนี้ที่บริษัทฯ ได้รับรู้เป็นรายได้และได้นำไปเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ ตามข้อ 3 (1) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534
เลขตู้: 72/36924

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020