เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/760
วันที่: 28 มกราคม 2553
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีเงินที่ได้รับอันเนื่องมาจากการสิ้นสุดสัญญาจ้าง
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(1) มาตรา 48(1)(5) แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 126ฯ ข้อ 2(5)
ข้อหารือ          บริษัทฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับโครงสร้างภายในองค์กร มีการเลิกสัญญาจ้างของพนักงานจำนวนหนึ่ง โดยให้ พนักงานยื่นหนังสือลาออก และบริษัทฯ จะจ่ายเงินตอบแทนให้แก่พนักงาน จำนวนเท่ากับค่าชดเชยและผลประโยชน์อื่นๆ ตาม กฎหมาย ที่พนักงานควรจะได้รับตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดในกรณีพนักงานถูกเลิกจ้าง ซึ่งเงินจำนวนนี้โดยปกติแล้ว จะไม่จ่ายให้แก่พนักงานที่ลาออก และบริษัทฯ จะออกหนังสือรับรองการทำงานให้แก่พนักงานโดยระบุเหตุของการสิ้นสุดการจ้าง ว่าเป็นกรณีการลาออก พนักงานที่ตกลงจะสิ้นสุดสัญญาจ้างมีระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่ถึง 5 ปี และจะได้รับเงินตอบแทน ดังต่อไปนี้
          1. ค่าชดเชยซึ่งคำนวณตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
          2. สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
          3. ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้ใช้ และ
          บริษัทฯ ขอหารือว่า
          1. แม้ว่าเอกสารที่เกี่ยวกับการสิ้นสุดสัญญาจ้างจะแสดงว่าเหตุแห่งการสิ้นสุดสัญญาคือ การลาออก โดยพนักงานได้ยื่น หนังสือลาออกให้แก่บริษัทฯ แต่สาระสำคัญของเงินที่จ่ายให้แก่พนักงาน ตามข้อ 1 คือการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครอง แรงงาน ดังนั้นเงินที่จ่ายตามข้อ 1 ยังคงถือเป็นค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานตามข้อ 2 (51) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร พนักงานจึงมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาจากค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ในกรณีนี้ บริษัทฯ ไม่มี หน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินที่ชำระตามข้อ 1 ใช่หรือไม่
          2. เงินที่จ่ายตามข้อ 2 - 3 ถือว่าเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานและถือเป็นรายได้จากการจ้างงาน เช่นเดียวกับเงินเดือน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากจำนวนเงินดังกล่าว โดย พนักงานจะมีสิทธิเลือกคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่
แนววินิจฉัย          1. กรณีบริษัทฯ เลิกจ้างพนักงาน โดยให้พนักงานยื่นหนังสือลาออกนั้น แม้บริษัทฯ จะจ่ายเงินชดเชยให้แก่พนักงาน ซึ่งคำนวณ ตามหลักเกณฑ์ค่าชดเชย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เงินจำนวนดังกล่าวไม่ถือเป็นค่าชดเชยการเลิกจ้างตาม มาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พนักงานที่ยื่นหนังสือลาออก จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อ 2(51) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
          2. กรณีสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้ใช้ โดยให้พนักงานยื่นหนังสือ ลาออกนั้น เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ถือเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงานที่ผู้มีเงินได้มีสิทธิจะเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้ประเภทอื่นตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้:73/37114

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020