เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/พ./785
วันที่: 29 มกราคม 2553
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายสินค้าไปต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/2 และมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัทฯ ได้รับคำสั่งซื้อแท้งค์จำนวน 2 ใบ ราคาใบละ 1,364,814 บาท จาก PT ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย โดยสรุปข้อเท็จจริงได้ดังนี้
          1. บริษัทฯ ได้ว่าจ้างบริษัท ท. เป็นผู้ผลิตแท้งค์ และบริษัทฯ ได้เก็บแท้งค์ที่ผลิตเสร็จแล้วไว้ที่คลังสินค้าที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งบริษัทฯ ได้เช่าจากบริษัท ท.
          2. PT ตกลงจะขนส่งแท้งค์ออกจากคลังสินค้าด้วยตนเอง โดยให้บริษัท ฮ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ PT ที่ตั้งอยู่ใน ประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการ
          3. ต่อมาบริษัท ฮ. ได้ว่าจ้าง ขนส่งแท้งค์จากคลังสินค้าของบริษัทฯ ไปยังบริษัท ฮ. สาขาจังหวัดสงขลา เพื่อส่งออก ไปให้ PT ที่ประเทศอินโดนีเซีย
          4. บริษัทฯ ได้ออกใบส่งของให้แก่ PT โดย PT เป็นผู้ชำระเงินให้แก่บริษัทฯ และมีบริษัท ฮ. สาขาจังหวัดสงขลา เป็น ผู้เซ็นรับสินค้าและดำเนินพิธีการศุลกากรเพื่อส่งออกในนามของบริษัท ฮ.
          กรณีที่บริษัทฯ ขายสินค้าให้กับ PT ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ถือเป็นการส่งออก ซึ่งจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 0 หรือไม่
แนววินิจฉัย          กรณีที่บริษัทฯ ขายแท้งค์จำนวน 2 ใบ ให้แก่ PT ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศอินโดนีเซีย โดย PT ตกลงจะขนส่งแท้งค์ออกจากคลังสินค้าของบริษัทฯ ด้วยตนเอง โดยให้บริษัทฯ ส่งมอบแท้งค์ให้แก่บริษัท ฮันลิเบอร์ตันฯ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ PT ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และบริษัท ฮันลิเบอร์ตันฯ เป็นผู้ดำเนินพิธีการศุลกากรเพื่อส่งออกแท้งค์ดังกล่าวให้แก่ PT ในนามของบริษัท ฮันลิเบอร์ตันฯ ถือเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 โดยต้องจัดทำใบกำกับภาษีเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อใน ต่างประเทศ เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ ตามมาตรา 78 มาตรา 80 มาตรา 82/4 และมาตรา 86 แห่ง ประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 73/37117

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020