เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/พ.1702
วันที่: 4 มีนาคม 2553
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีออกใบกำกับภาษีสำหรับการรับชำระค่าผ่านท่าและค่าชั่งน้ำหนักตู้สินค้า
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(10) มาตรา 77/2 มาตรา 78/1(1) มาตรา 86 มาตรา 86/4 มาตรา 82/3 มาตรา 82/4 และมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          ก. จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมยานพาหนะผ่านท่าและค่าชั่ง น้ำหนักตู้สินค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-toll Collection System) โดยการใช้บัตร RFID ซึ่งบัตร RFID สามารถบันทึกชื่อเจ้าของรถ ทะเบียนรถ น้ำหนักรถ และรายละเอียดต่างๆ เพื่อใช้ในการเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมฯ โดยมีวิธีการ ดังนี้
          (1) ผู้รับขนส่งจะนำบัตร RFID ไปติดที่กระจกหน้ารถ ซึ่ง ในขณะที่ขับรถผ่านท่า ก. ยังไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมฯ แต่ เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งที่ประตูตรวจสอบจะทำการบันทึกข้อมูลของ บัตร RFID และจะมีการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมฯ ใน ภายหลัง
          (2) เมื่อผู้รับขนส่งชำระเงินค่าธรรมเนียมฯ ซึ่งเป็นการชำระ แทนเจ้าของสินค้า ผู้รับขนส่งจะแจ้งให้ ก. ออกใบเสร็จรับเงิน/ ใบกำกับภาษีในนามของเจ้าของสินค้า เพื่อผู้รับขนส่งจะได้นำใบเสร็จรับ เงิน/ใบกำกับภาษีดังกล่าว ไปเรียกเก็บเงินคืนจากเจ้าของสินค้า ตามจำนวนที่ปรากฏในใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี
          เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระค่าธรรมเนียมฯ ก. จะให้ผู้ รับขนส่งที่ใช้บัตร RFID ในการผ่านท่า วางหลักประกันเป็นหนังสือ ค้ำประกันของธนาคาร
          ผู้รับขนส่งจะคิดค่าบริการจากเจ้าของสินค้าเฉพาะค่าขนส่ง เท่านั้น โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการอื่นๆ แต่อย่างใด
          ก. ขอหารือว่า ก. จะออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีใน นามของเจ้าของสินค้าได้หรือไม่
แนววินิจฉัย          1. กรณี ก. เรียกเก็บค่าธรรมเนียมยานพาหนะผ่านท่าและค่าชั่ง น้ำหนัก ตู้สินค้า เข้าลักษณะเป็นการให้บริการอยู่ในบังคับต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/1(10) และมาตรา 77/2 แห่งประมวล รัษฎากร โดยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อ ได้รับชำระค่าบริการ เว้นแต่กรณีที่ได้มีการออกใบกำกับภาษี หรือได้ใช้ บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือผู้อื่น ก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มี การกระทำดังกล่าว ตามมาตรา 78/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร และ ก. มี หน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาในกำกับภาษีทันทีที่ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร
          2. กรณีผู้ขนส่งแจ้งให้ ก. ออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ค่าธรรมเนียมฯ ในนามของเจ้าของสินค้า ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมฯ ที่ เจ้าของสินค้าจะต้องชำระ โดยผู้ขนส่งจะชำระค่าธรรมเนียมฯ ดังกล่าวแทนเจ้าของสินค้า และจะเรียกเก็บเงินคืนจากเจ้าของสินค้าใน ภายหลังตามจำนวนที่จ่ายจริง ก. ย่อมสามารถกระทำได้ และหากใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีดังกล่าว มีรายการอย่างน้อยครบถ้วน ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีซื้อที่เกิดจากใบ กำกับภาษีดังกล่าวไม่ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม เจ้าของสินค้ามีสิทธินำมาหัก การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 82/3 มาตรา 82/4 และ มาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 73/37158

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020