เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/1788
วันที่: 5 มีนาคม 2553
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างให้บริษัทในต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัท D ได้ว่าจ้างให้ บริษัท A ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ประเทศญี่ปุ่น มีสถานประกอบการอยู่ในประเทศญี่ปุ่น (บริษัทญี่ปุ่นฯ) ทำหน้าที่เก็บค่าบริการจากลูกค้าในประเทศญี่ปุ่นแทนบริษัทฯ โดย ลูกค้าในประเทศญี่ปุ่นสามารถชำระค่าบริการ ผ่านบริษัทญี่ปุ่นฯ แทนการโอนเงินข้ามประเทศมาให้บริษัทฯ และบริษัทญี่ปุ่นฯ จะโอนเงิน ค่าบริการที่ลูกค้าในประเทศญี่ปุ่นต้อง ชำระให้บริษัทฯ และค่าบริการที่บริษัทญี่ปุ่นฯ จัดเก็บเงินแทนบริษัทฯ คือ เงินจำนวน 800 เยนต่อใบ แจ้งหนี้ บริษัทญี่ปุ่นฯ จะส่ง เงินค่าบริการที่จัดเก็บแทนมายังบริษัทฯ ในประเทศไทยทุกๆ 3 เดือน บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
          1. เงินค่าบริการที่บริษัทญี่ปุ่นฯ เรียกเก็บจากบริษัทฯ ถือ เป็นกำไรของบริษัทญี่ปุ่นฯ เมื่อบริษัทญี่ปุ่นฯ ไม่มีสถานประกอบการ ถาวรในประเทศไทย บริษัทฯ จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษี ทั้งนี้ ตามข้อ 5 และ 7 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศ ญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรใน ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ถูกต้องหรือไม่
          2. บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) ณ ที่ ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ให้แก่ผู้ประกอบการ ตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากร และตามข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 104/2544 เรื่อง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้น ในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากรและกรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่าง ประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่ง ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย          1. กรณีบริษัทฯ ว่าจ้างบริษัทญี่ปุ่นฯ ให้เก็บเงินค่าบริการจาก ลูกค้าของบริษัทฯ ในประเทศญี่ปุ่นแทนบริษัทฯ เงินค่าบริการ ที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่บริษัทญี่ปุ่นฯ ถือเป็นเงินได้เนื่องจากการรับทำงานให้ ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่บริษัทญี่ปุ่นฯ บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึง ประเมินดังกล่าว ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ตาม เงินค่าตอบแทนดังกล่าว เป็นเงินได้หรือกำไรของวิสาหกิจ เมื่อบริษัท ญี่ปุ่นฯ มีสถานประกอบการในประเทศญี่ปุ่น ไม่เข้าลักษณะเป็นสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย ตามนัยข้อ 5 แห่งอนุสัญญา ระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อ การเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงิน ได้ บริษัทญี่ปุ่นฯ จึงไม่มีหน้าที่ ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ทั้งนี้ ตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งอนุสัญญาดังกล่าวประกอบกับ มาตรา 3 แห่งพระราช- กฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2505 บริษัทฯ จึงไม่มี หน้าที่ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
          2. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินค่าบริการให้แก่บริษัทญี่ปุ่นฯ ผู้รับ บริการที่ให้บริการเรียกเก็บเงินแทนบริษัทฯ ในประเทศญี่ปุ่น ไม่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการนอกราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการใน ประเทศไทย ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวล รัษฎากร
เลขตู้: 73/37175

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020