เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/3488
วันที่: 26 พฤษภาคม 2553
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ (Foreign Issuer) นำหลัก ทรัพย์ของตนมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(4)(ข)(ช) มาตรา 48(1)(2) มาตรา 50(2) และมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีนโยบายที่จะเพิ่มสินค้าในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยการอนุญาตให้บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ (Foreign Issuer) เข้ามาระดมทุนโดยการเสนอขายหลักทรัพย์ในประเทศ ไทยและนำหลักทรัพย์ของตนยื่นขอ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และคาดว่าจะมี Foreign Issuer รายแรกยื่นคำขอจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ในเดือน พฤศจิกายน 2552 ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงขอหารือภาระภาษีของ Foreign Issuer ที่มีการระดมทุนโดยการเสนอขายหลัก ทรัพย์ ในประเทศไทยและภาระภาษีของผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ดังกล่าว สำหรับเงินได้ที่เกิดจากกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์และ เงินปัน ผล เป็นต้น
แนววินิจฉัย          กรณีบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ (Foreign Issuer) เข้ามาระดมทุนโดยการเสนอขายหลักทรัพย์ใน ประเทศไทย มีภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้
          1. กรณีบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ (Foreign Issuer) ออกหลักทรัพย์เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในประเทศไทย หรือเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) และมี ส่วนล้ำมูลค่าหุ้น ราคาของหุ้นเฉพาะส่วนเกินกว่ามูลค่าหุ้น ไม่ถือเป็นเงินได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ ของบริษัท หากแต่เป็นส่วนของทุนของบริษัทจึงไม่ต้องนำ มาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้
          2. เงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของ ต่างประเทศ (Foreign Issuer) เข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้มีเงินได้ดังต่อไปนี้ มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ
               2.1 บุคคลธรรมดาที่มี เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศมี หน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง และวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร และต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และผู้จ่ายเงินได้มี หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ ตามมาตรา 50(2)(จ) แห่ง ประมวลรัษฎากร เนื่องจากเงินปันผลดังกล่าวมิใช่เงินปัน ผลซึ่งได้รับจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ผู้มีเงินได้จึงไม่มีสิทธิเลือก เสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ตามมาตรา 48(3) วรรค สอง แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ได้รับเครดิตในการคำนวณภาษีตาม มาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
               บุคคลธรรมดาซึ่งมิได้ เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยรวมเวลาทั้งหมดไม่ถึง 180 วันในปีภาษี และมีเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีหน้าที่ต้อง เสียภาษีจากเงินปันผลตามมาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
               2.2 บริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทำ กิจการในประเทศไทย ซึ่งมีเงินได้ตาม มาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 66 แห่งประมวล รัษฎากร และผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ ตามข้อ 5 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่ง ประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
               บริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้ ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวล รัษฎากร จากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ (Foreign Issuer) ไม่มีหน้าที่เสียภาษี เงินได้ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
          3. กำไรจากการขายหลักทรัพย์ เข้าลักษณะเป็นเงินได้ตาม มาตรา 40(4)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งเป็น ผู้มีเงินได้ดังต่อไปนี้ มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงิน ได้นิติบุคคล คือ
               3.1 บุคคลธรรมดาที่มี เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และผู้จ่ายเงิน ได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 50(2) วรรคหนึ่ง แห่ง ประมวลรัษฎากร เว้นแต่เงินได้ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้ เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยให้คำนวณหักภาษีในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ ตาม มาตรา 50(2)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร หากเป็นเงินได้จาก การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้มีเงินได้จะได้รับยกเว้นภาษี เงินได้ตามข้อ 2(23) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออก ตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
               3.2 บริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และ กระทำกิจการในประเทศไทย ซึ่งมีเงินได้ตาม มาตรา 40(4)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 66 แห่ง ประมวลรัษฎากร
               บริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในอัตรา ร้อยละ 15 ของเงินได้ ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของต่างประเทศอาจได้รับยกเว้นภาษีหรือลดอัตราภาษี ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยและประเทศคู่สัญญาต่างๆ
เลขตู้: -

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020