พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 509)
พ.ศ. 2553
---------------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เป็นปีที่ 65 ในรัชกาลปัจจุบัน
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย บางกรณี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 187 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 และมาตรา 41 ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 509) พ.ศ. 2553
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา 5 อัฏฐ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 429) พ.ศ. 2548ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากพันธบัตรและหุ้นกู้ในบางกรณีให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมตลาดพันธบัตรเอเชียและสนับสนุนให้ตลาดตราสารหนี้ของประเทศมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและเป็นการสร้างแหล่งเงินทุนระยะยาวให้แก่ภาครัฐและเอกชนอันจะนำไปสู่ระบบการเงินที่มีดุลยภาพ แต่โดยที่สิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศในปัจจุบัน สมควรกำหนดเงื่อนไขในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยสำหรับเงินได้พึงประเมินบางประเภทที่ได้รับจากพันธบัตรและหุ้นกู้ของรัฐบาล องค์การของรัฐบาลและสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
(ร.จ. ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 127 ตอนที่ 76 ก วันที่ 14 ธันวาคม 2553)