เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/4946
วันที่: 5 กรกฎาคม 2554
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการตั้งสำรองเงินเกษียณและเงินช่วยเหลือการลาออกของพนักงาน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี (1) และ (9) และ(13) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัทฯ ได้ตั้งสำรองเงินเกษียณของพนักงาน จำนวนเงิน 15,167,535.93 บาท โดยมีหลักเกณฑ์ให้พนักงาน ที่ปฏิบัติงานจนอายุครบ 60 ปี เป็นจำนวน 10 เท่าของเงินเดือน ซึ่งคำนวณจากอายุของพนักงานและโอกาสความเป็น ไปได้ของพนักงานที่จะอยู่จนเกษียณตามแต่ช่วงอายุของพนักงาน และเงินสำรองช่วยเหลือการลาออกของพนักงาน จำนวนเงิน 17,238,849.71 บาท โดยมีหลักเกณฑ์ในการตั้งสำรองเงินช่วยเหลือการลาออกของพนักงาน ซึ่งคำนวณ ตามอายุงานและระเบียบเงินช่วยเหลือการลาออกของบริษัทฯ พนักงานแต่ละคนมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการลาออก ตามระเบียบของบริษัทฯ ณ วันที่โอนย้ายพนักงานให้แก่บริษัทในเครือเป็นจำนวนเท่าใด บริษัทฯ จะตั้งสำรองเงิน ช่วยเหลือลาออกตามสิทธิของพนักงานแต่ละคน ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ทำการบันทึกบัญชีไว้ โดยมีการคำนวณรายละเอียด เป็นรายบุคคล ซึ่งในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล เงินสำรองที่บริษัทฯบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายประจำปีนั้น ได้ทำการบวก กลับทั้งหมดแล้ว และเนื่องจากบริษัทฯ มีการโอนย้ายพนักงานจำนวน 332 คน ให้กับบริษัทในเครือซึ่งเป็นคนละนิติบุคคล บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
          1. กรณีเมื่อมีการโอนย้ายพนักงานให้กับบริษัทในเครือ บริษัทฯ จะนำเงินสำรองเกษียณและเงินสำรองช่วยเหลือ การลาออกมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ได้หรือไม่
          2. บริษัทในเครือที่รับโอนพนักงาน จะบันทึกบัญชีสำหรับเงินสำรองที่รับโอนอย่างไร
          3. เมื่อพนักงานที่โอนย้ายลาออก บริษัทในเครือผู้รับโอนจะบันทึกบัญชีอย่างไร
แนววินิจฉัย          1. กรณีบริษัทฯ โอนพนักงานให้แก่บริษัทในเครือซึ่งเป็นคนละนิติบุคคลกัน โดยโอนเงินสำรองเกษียณ และเงินสำรองช่วยเหลือลาออกของพนักงานเป็นรายบุคคลให้แก่บริษัทในเครือ บริษัทฯ มีสิทธินำเงินสำรองที่โอนดังกล่าว มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่โอนเงินดังกล่าวนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (1) และ (9) แห่ง ประมวลรัษฎากร
          2. กรณีตาม 2. และ 3. เมื่อบริษัทฯ โอนเงินสำรองเกษียณและเงินสำรองช่วยเหลือการลาออกของพนักงานให้แก่ บริษัทในเครือ เพื่อให้บริษัทในเครือเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายเงินให้พนักงานที่ลาออกจากงานเป็นการโอนไปพร้อมกับความผูกพัน ที่ต้องจ่ายเงินสำรองเกษียณและเงินสำรองช่วยเหลือการลาออกของพนักงาน จึงไม่ถือเป็นเงินได้ของบริษัทในเครือ และเมื่อ บริษัทในเครือจ่ายเงินสำรองดังกล่าวให้แก่พนักงานที่ลาออกจากงาน บริษัทในเครือไม่มีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการ คำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินสำรองเกษียณและเงินสำรองช่วยเหลือการลาออกของพนักงานที่บริษัทในเครือรับโอนไปนั้น ให้บริษัทฯ ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ที่รับรองทั่วไป
เลขตู้: 74/37782

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020