เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/8916
วันที่: 8 พฤศจิกายน 2554
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากการให้เช่ารถยนต์
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัทฯ ฯ (ผู้เช่า) ได้ทำสัญญาเช่ารถยนต์กับพนักงานของ บริษัทฯ (ผู้ให้เช่า)(พนักงานฯ) โดยพนักงานฯ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ของรถยนต์เอง เช่น ค่าสึกหรอ ค่าน้ำมันรถ เป็นต้น บริษัทฯ ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ของค่าเช่าตามสัญญาเช่าเป็นรายเดือน การเช่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นการอำนวยความสะดวกในการทำ งานของพนักงานฯ และเพื่อใช้ในธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯ จึงขอทราบว่า เงินได้ที่พนักงานฯ ได้รับตามสัญญาเช่าดังกล่าวเป็นเงินได้พึง ประเมินประเภทใด และพนักงานฯ ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประเภทใด
แนววินิจฉัย          กรณีพนักงานฯ ได้นำรถยนต์ของตนมาให้บริษัทฯ เช่า เพื่อ ใช้ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และอำนวยความสะดวกในการทำงานของพนักงานฯ โดยมีการทำสัญญาเช่าระหว่างพนักงานฯ ผู้ให้ เช่ากับบริษัทฯ ผู้เช่า หากคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาเช่ากันอย่างแท้จริงย่อมถือเป็นสัญญาเช่าทรัพย์สินตามมาตรา 537 แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เงินที่พนักงานฯ ได้รับจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานฯ จึงมีหน้าที่ ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามแบบ ภ.ง.ด.90 แต่หากเป็นกรณีที่บริษัทฯ มีเจตนาจ่ายเงินเป็นค่าช่วยเหลือแก่ พนักงานฯ ที่นำรถยนต์มาใช้งานของบริษัทฯ แต่มีการทำสัญญาเช่าเพื่ออำพรางเจตนาที่แท้จริง สัญญาเช่าดังกล่าวถือเป็นการแสดงเจตนา ลวง เป็นโมฆะ ตามมาตรา 155 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเงินได้ที่พนักงานฯ ได้รับในกรณีดังกล่าว ถือเป็นเงินหรือ ประโยชน์ที่ได้รับเนื่องจากการปฏิบัติงานในฐานะพนักงานของบริษัทฯ อันเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40(1) แห่ง ประมวลรัษฎากร พนักงานฯ จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามแบบ ภ.ง.ด.91้ หรือหากพันตำรวจเอก บ. ได้ตรวจพบเองก็มี สิทธิยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 93 ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มตามกฎหมายให้ถูกต้องได้
เลขตู้: 74/37901

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020