เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/9260
วันที่: 22 พฤศจิกายน 2554
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพ์
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี (15) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          1. ในปี 2551 บริษัท S ต้องการขยายธุรกิจของสินค้าเซรามิค ได้ ซื้อหุ้นบริษัท T จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม และได้ทำคำเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นทุกรายเป็นการทั่วไป (Tender Offer) เป็นผลให้ S ถือหุ้นใน T ในสัดส่วนร้อยละ 61.92
          2. ในช่วงปี 2550 - ปี 2551 T มีหนี้สินต่อธนาคารประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมได้ปรับโครงสร้างหนี้ของ T เหลือประมาณ 2,000 ล้านบาท ก่อนขายหุ้นให้ S
          3. แม้ว่าจะมีการปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ T ยังมีภาระหนี้สินที่สูงมาก (มีรายจ่ายดอกเบี้ยธนาคารสูง) ทำให้ T ขาดทุน และโอกาสฟื้นตัวยาก ทั้งที่มีศักยภาพในการผลิตและการตลาด ผู้ บริหารเดิมของ T และ S เห็นว่า การทำให้บริษัทฟื้นตัวต้องลดภาระดอกเบี้ยซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่น การเพิ่มทุน การทำ Refinance หรือ การออกหุ้นกู้
          4. ผู้ถือหุ้นเดิมของ T และ S เห็นว่า การออกหุ้นกู้แปลง สภาพเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมทุกรายเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธีเพิ่มทุน วิธี Refinance และการออกหุ้นกู้ เนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้
               4.1 T (ผู้ออกหุ้นกู้ แปลงสภาพ) จะรับภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยต่ำกว่าการออกหุ้นกู้ เนื่องจากหุ้นกู้แปลงสภาพนั้นโดยทฤษฎีและวิธีปฏิบัติทั่วไปแล้ว ดอกเบี้ย จะต่ำกว่าดอกเบี้ยหุ้นกู้เพราะมีประโยชน์อื่นแฝงอยู่ คือ การแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
               4.2 สำหรับ S ใน ฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ยังไม่ต้องการถือหุ้นมากกว่านี้ โดยจะพิจารณาศักยภาพของ T อีก 2 - 3 ปี ถ้า T ฟื้นตัวได้ ก็จะแปลงสภาพหุ้นกู้แปลง สภาพเป็นหุ้นสามัญ (ถือหุ้นสามัญเพิ่ม) แต่ถ้า T ยังขาดทุน S จะไม่ใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ (ไม่ถือหุ้นสามัญเพิ่ม) และไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าว
               4.3 การใช้วิธีซื้อ หุ้นกู้แปลงสภาพทำให้ S ได้ผลตอบแทน (ดอกเบี้ยหุ้นกู้แปลงสภาพ) ในช่วง 2 - 3 ปี ก่อนถึงกำหนดแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ แต่ถ้าใช้วิธี เพิ่มทุน S จะไม่ได้รับผลตอบแทน (เงินปันผล) เลย เนื่องจาก T เป็นบริษัทที่ขาดทุน ไม่มีสิทธิจ่ายเงินปันผล และถ้าปรากฏว่า T ไม่ สามารถฟื้นตัวได้ วิธีซื้อหุ้นเพิ่มทุนจะทำให้ S ต้องรับสภาพการเป็นผู้ถือหุ้นสามัญของ T เกือบทั้งหมดแทนที่จะถือหุ้นสามัญเพียงร้อยละ 61.19
               5. ในการซื้อหุ้นกู้ แปลงสภาพของ T ดังกล่าว S ได้กู้เงินมาและได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับผู้ให้กู้ในอัตราตลาด ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้แปลงสภาพ เนื่องจากผู้ลงทุนในหุ้นกู้แปลงสภาพมีโอกาสได้ผลประโยชน์จากการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญในกรณีที่ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงกว่า ราคาแปลงสภาพ
               6. S ได้หารือว่า S มี สิทธินำดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพ มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของ S ได้หรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย          หาก S พิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้งว่า ในขณะที่เข้าซื้อหุ้นกู้ แปลงสภาพดังกล่าว ผลประโยชน์ที่จะได้รับในอนาคต ซึ่งรวมทั้งดอกเบี้ยหุ้นกู้แปลงสภาพและกำไรที่คาดว่าจะได้รับจากการแปลงสภาพ เป็นหุ้นสามัญ มีปริมาณอันสมควร เทียบได้กับธุรกรรมที่ S อาจได้รับจากการลงทุนในบริษัทที่เป็นอิสระต่อกัน การกู้เงินมาเพื่อลงทุนซื้อ หุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าว เป็นเหตุอันสมควรในทางธุรกิจ และบริษัทฯ มีสิทธินำดอกเบี้ยเงินกู้นั้น มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไร สุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (15) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด
เลขตู้: 74/37921

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020