เมนูปิด
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 230)
เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47 (1) (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร



อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 47 (1) (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 36) พ.ศ. 2548 อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักลดหย่อน ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงิน ได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1  ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136)เรื่องกำหนดหลัก เกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47 (1) (ญ) แห่ง ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“(6) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้พึงประเมิน ที่ตนได้รับในปีภาษีที่ล่วงแล้วมาตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนคนละ 30,00 บาท
(ข) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือ เป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 56 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่าง ฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนคนละ 30,000 บาท
(ค) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอา เงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของ มาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากรให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มี เงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท”
ข้อ 2  ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการหักลดหย่อนสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ.2555 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

สาธิต รังคสิริ
อธิบดีกรมสรรพากร

 

ปรับปรุงล่าสุด: 10-02-2022