เมนูปิด

          ผู้ประกอบการ จํานวน 8 ราย ประกอบกิจการให้บริการด้านการจัดการบริหารงานให้กับ บริษัท ซ. โดยได้ทําสัญญากับ บริษัท ซ. ใช้ชื่อสัญญาว่า “สัญญา บริหารงานร้านค้า” ซึ่งผู้ประกอบการ จํานวน 8 ราย มีฐานะเป็น “ผู้ดําเนินการ” และได้รับค่าตอบแทนจากการบริหารตามสัญญา ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในอัตราร้อยละที่นํามาคูณตามแต่จะตกลง ขึ้นอยู่กับขนาดของการรับจ้างบริหารงานร้านค้า หักด้วยรายจ่ายที่บริษัท ซ. จ่ายไปหรือต้องเสียไปจากการดําเนินการร้านค้าหรือเกี่ยวกับการดําเนินการของร้านค้าตามที่บริษัท ซ. กําหนดตามสัญญาผู้ประกอบการทั้ง 8 ราย ต้องนํารายได้ทั้งจํานวนก่อนหักรายจ่ายมาถือเป็นรายได้ในการคํานวณกําไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นยอดขายในการยื่นแบบ ภ.พ.30 ใช่หรือไม่อย่างไร

          1. บริษัท ซ. สัญญาบริหารงานร้านค้า เป็นสัญญาระหว่าง บริษัท ซ. และผู้ประกอบการ ซึ่ง บริษัท ซ. ตกลงให้ ผู้ประกอบการ เป็นผู้บริหารร้านค้าของ บริษัท ซ. โดยต้องบริหารให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข หรือนโยบายที่ บริษัท ซ. กําหนดอย่างเคร่งครัด และ บริษัท ซ. ตกลงจ่ายค่าตอบแทนการบริหารงานให้กับ ผู้ประกอบการ เพื่อผลสำเร็จของการบริหารร้านค้าดังกล่าว จึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทําของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ประกอบการ ต้องนำค่าตอบแทนการบริหารงานที่ได้รับตามสัญญาดังกล่าวมาถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามเกณฑ์สิทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร


          2. การให้บริการบริหารงานดังกล่าวเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1 (10) และมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร โดยมูลค่าของฐานภาษีสำหรับการให้บริการบริหารงานนั้น ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ ผู้ประกอบการ ได้รับหรือพึงได้รับ ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ: กค 0702/2689 วันที่: 24 เมษายน 2563เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีฐานภาษีสำหรับค่าตอบแทนการบริหารงาน ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 , 77/1 (10) , 77/2 , 79 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อหารือแนววินิจฉัยเลขตู้: 83/40911

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020