เมนูปิด

ระบบงานภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับผู้เสียภาษีอากรใช้งานออนไลน์ (WHT Services System : SVS)

1. สามารถใช้ Web Browser อะไรในการยื่นแบบฯ ผ่านระบบ SVS ได้บ้าง

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     1.1 Internet Explorer 7 หรือสูงกว่า, Microsoft Edge, Mozilla Firefox, Google Chrome Ver. 105.00.5195 รายละเอียดเพิ่มเติม

2. โปรแกรมจาวาที่ใช้ในการยื่นฯ SVS สามารถใช้รุ่นใดได้บ้าง

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     2.1 Java เวอร์ชั่น 1.6.0_24 ขึ้นไป (ในส่วนของ SWC ถ้า Update ให้สูงกว่า 1.7.0 ไม่ได้ ให้ติดตั้ง Java แยกต่างหาก รายละเอียดเพิ่มเติม)

3. โปรแกรม SVS จะต้องติดดั้งโปรแกรมอะไรบ้างเพื่อให้ใช้งานได้

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     3.1 ติดตั้งใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ Digital Certificate ที่ระบบส่งข้อมูลให้ทางอีเมล วิธีการติดตั้ง
     3.2 ติดตั้งโปรแกรม Java version ตามที่ระบบกำหนด วิธีการติดตั้ง

4. กลุ่มผู้ใช้งาน (USERNAME) มีอะไรบ้าง

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     4.1 กลุ่มผู้ใช้งานฝ่ายบัญชี
     4.2 กลุ่มผู้ใช้งานฝ่ายบุคคล
     4.3 กลุ่มผู้ใช้งานทั้งหมด
     4.4 กลุ่มผู้ใช้งานจัดทำ ภ.ง.ด.1
     4.5 กลุ่มผู้ใช้งานจัดทำเงินเดือน

โดยผู้ใช้งาน สามารถกำหนดกลุ่มผู้ใช้งานได้ ตามขั้นตอน ดังนี้

     4.6 เข้าสู่ระบบให้บริการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับใช้งานออนไลน์ (SVS) ด้วยสิทธิของผู้ดูแลระบบ (ADMIN)
          4.6.1 ไปที่เมนู ข้อมูลผู้ใช้ -> ข้อมูลผู้ใช้ -> บันทึกข้อมูลประวัติผู้ใช้งานระบบ (User profile)
          4.6.2 ป้อนข้อมูลประวัติผู้ใช้ระบบ และเลือกกลุ่มผู้ใช้งาน
          4.6.3 กดปุ่ม ตกลง

5. ถ้าจะแก้ไขเลข 13 หลัก ของผู้ถูกหักภาษี เพราะบันทึกข้อมูลผิด ต้องทำอย่างไรบ้าง (SVS)

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     5.1 ไปที่เมนู (กำหนดค่าเริ่มต้น > ข้อมูลหน่วยงาน/พนักงาน > บันทึกและแก้ไขข้อมูลพนักงาน) 
     5.2 ป้อนข้อมูลที่ถูกต้อง และลบข้อมูลที่ไม่ถูกออก จากนั้นป้อนข้อมูลภาษ๊ที่ต้องการ

6. การเพิ่มผู้มีหน้าที่หักภาษีฯ

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     6.1 เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งานของผู้ดูแลระบบ และเพิ่มผู้มีหน้าที่หักภาษีฯ

7. ไม่สามารถบันทึก/แก้ไขข้อมูลพนักงาน รายใหม่เข้าระบบ SVS

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     7.1 ให้บันทึกข้อมูลบังคับให้ครบ ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ตำแหน่ง/สังกัด ที่อยู่ และบุคคลในครอบครัว แล้วกดจัดเก็บข้อมูล (รายละเอียดที่คู่มือหัวข้อ 5.2.1.7)

8. ขั้นตอนการเพิ่มผู้ใช้งานด้วยผู้ดูแลระบบ

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     8.1 เข้าระบบ SVS ด้วยรหัสผู้ใช้งานผู้ดูแลระบบ หลังจากนั้นไปที่เมนู ข้อมูลผู้ใช้ >> บันทึกประวัติผู้ใช้งานระบบ >> ใส่ข้อมูลเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
     8.2 เลือกกลุ่มผู้ใช้งาน ตามจุดประสงค์การใช้งาน แล้วกดปุ่ม ตกลง

9. กรณีเป็นนิติบุคคลที่มีการหัก ณ ที่จ่ายและต้องยื่น ภ.ง.ด.2 ไม่กี่รายควรใช้โปรแกรมอะไรยื่นแบบฯ

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     9.1 ควรใช้ระบบ SVS เนื่องจากเป็นการบันทึกข้อมูลใบแนบไม่กี่ราย ระบบ SVS จะใช้เวลาน้อยกว่าโปรแกรม SWC ที่จะต้องมีการติดตั้งโปรแกรมลงเครื่อง และข้อมูลจะต้องจัดทำไฟล์ .txt ให้ตรงตามฟอร์แมตกลาง เวอร์ชัน 2.0

10. กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.2 ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถนำข้อมูลเข้าในระบบ SVS เพื่อยื่น ภ.ง.ด.2 ก ได้หรือไม่ 

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

สามารถทำได้ โดยการจัดทำข้อมูล ให้เป็นรูปแบบไฟล์ Excel หรือ ไฟล์ .txt สำหรับนำเข้าข้อมูลฐานตั้งต้นระบบ svs โดย
     10.1 รวมไฟล์ ภ.ง.ด. 2 ทั้งปีให้เป็น Excel ไฟล์เดียว
     10.2 นำเข้าข้อมูลที่เมนูนำเข้าข้อมูลตั้งต้น >> นำเข้าข้อมูลในฐานตั้งต้นในรูปแบบ .txt หรือ .xls, .xlsx (Excel)

11. ระบบของผู้ใช้งาน SVS ไม่มีเมนู จัดทำ ภ.ง.ด.2 ต้องแก้ไขอย่างไร

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

ให้ตรวจสอบ/แก้ไขข้อมูลกลุ่มผู้ใช้งานระบบ ให้เป็นกลุ่มผู้ใช้งานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีหรือ กลุ่มผู้ใช้งานทั้งหมด/ราชการ โดย
     11.1 login เข้าระบบด้วยเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ (Admin) แท็บ ข้อมูลผู้ใช้ >>บันทึกข้อมูลประวัติผู้ใช้งานระบบ 
     11.2 เลือก รหัสผู้ใช้งานที่ต้องการแก้ไข เปลี่ยนกลุ่มผู้ใช้งานเป็นกลุ่มผู้ใช้งานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีหรือ กลุ่มผู้ใช้งานทั้งหมด/ราชการ
     11.3  กด ตกลง

12. ขั้นตอนการบันทึก ภ.ง.ด. 2

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     12.1 เข้าระบบ SVS เมนู ภ.ง.ด.2 >> จัดทำ ภ.ง.ด. 2 >> บันทึกข้อมูล >> บันทึกข้อมูลภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 2
     12.2 เลือกเดือนและปีภาษีที่ต้องการบันทึก และลักษณะการยื่นว่าเป็นแบบปกติ หรือ เพิ่มเติม จากนั้นกดตกลง และบันทึกข้อมูลส่วนของใบแนบ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ชื่อ นามสกุล ของผู้ถูกหักภาษี วันเดือนปีที่จ่าย ประเภทเงินได้ เงินได้ทั้งสิ้น และภาษีนำส่งทั้งสิ้น จากนั้นกดปุ่ม จัดเก็บข้อมูล

13. ขั้นตอนการยื่นสือ ภ.ง.ด. 2

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     หลังจากบันทึกข้อมูล ภ.ง.ด. 2 เรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
     13.1 ไปที่ ภ.ง.ด. 2 >> สร้างไฟล์ยื่นสื่อ/อินเตอร์เน็ต >> สร้างไฟล์ยื่นสื่อและเข้ารหัส ภ.ง.ด. 2 โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลในส่วนของผู้เสียภาษี เนื่องจากระบบแสดงให้เป็นอัตโนมัติ
     13.2 เลือกเดือน ปีภาษี และลักษณะการยื่นแบบ แล้วกด ตกลง 
     13.3 ระบบจะสร้างไฟล์สำหรับยื่นสื่อ ให้กดปุ่ม นำส่งไฟล์ภาษี
     13.4 พิมพ์แบบแสดงรายการ เพื่อนำไปชำระภาษีที่ ณ หน่วยรับชำระ สรรพากรพื้นที่สาขา

14. การพิมพ์หนังสือรับรอง ภ.ง.ด. 53

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     14.1 ในกรณีที่ไม่เคยบันทึก ภ.ง.ด.53 ในปีภาษีที่ต้องการ จะต้องบันทึกรายการ ภ.ง.ด. 53 โดย เพิ่มผู้หักภาษีฯ ตามขั้นตอนของผู้ดูแลระบบ จากนั้น เลือกบันทึกรายการ ภ.ง.ด. 53 และสร้างหนังสือรับรองในปีภาษีที่ต้องการ
     14.2 ขั้นตอนการบันทึก ภ.ง.ด. 53
     14.3 ขั้นตอนการพิมพ์หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
     14.4 การจัดการหนังสือรับรองภาษี ณ ที่จ่าย

15. กรณีที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์สมัครฝากไฟล์ออนไลน์ให้จะต้องทำยื่นแบบฯ อย่างไร

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     15.1 กรณี TSD จะต้องนำส่งข้อมูลผ่านโปรแกรม Software Component (SWC) โดยวิธีฝากไฟล์ไว้กับระบบงานของกรมสรรพากร โดยจะต้อง Log In ทำรายการ ผ่าน Web Service บนระบบ SET Portal ของ TSD เมื่อการฝากไฟล์สำเร็จ จะได้รับหน้าแบบฯ ส่งให้ทางอีเมล์ ใช้หน้าแบบฯ ดังกล่าวนำยื่นชำระภาษีที่หน่วยรับชำระภาษีกรมสรรพากร

16. การลบข้อมูล ภ.ง.ด. 

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     16.1 ไปที่บันทึกข้อมูล >> กดปุ่มสอบถามใบแนบ >> ค้นหารายที่ต้องการแก้ไข ด้วยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร >> กดปุ่มค้นหา และกดปุ่มลบ

17. สอบถามข้อมูล หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (50ทวิ) ภ.ง.ด.53 แบบฟอร์มที่พิมพ์จากระบบ SVS สามารถนำไปยื่นหักภาษีได้หรือไม่ 

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     17.1 หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (50ทวิ) ที่พิมพ์จากระบบ SVS สามารถนำไปยื่นหักภาษีได้

18. การแปรสภาพในกรณีที่หน่วยงานย้ายที่อยู่ในปีภาษี ต้องทำอย่างไร

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     18.1 ติดต่อสรรพากรพื้นที่หรือกองบริหารการภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ตามภูมิลำเนา เพื่อดำเนินการแปรสภาพผู้เสียภาษีทำการลงทะเบียนด้วยรายใหม่
     18.2 นำเอกสารการแปรสภาพและถ่ายสำเนา พร้อมหลักฐานการลงทะเบียนใหม่ ติดต่องานภาษี หัก ณ ที่จ่าย เพื่อให้กองเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินงานต่อไป 

19. ค่านายหน้าโดยผู้รับเป็นชาวต่างประเทศอาศัยอยู่ในไทยมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     19.1 กรณีจัดทำเงินเดือนบันทึกที่รายรับไม่ประจำ หรือ กรณีบันทึกบันทึกจากข้อมูลใบแนบ ภ.ง.ด.1 โดยตรง ใช้เงินได้มาตรา 40(2)

20. กรณีทำรายการฝากไฟล์ออนไลน์ SVS หากเกิดปัญหาทางด้านเทคนิคที่ค่อนข้างยากและแก้ไขไม่ได้ สามารถติดต่อช่องทางใดได้บ้าง

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     20.1 ให้ผู้ใช้งานส่งรายละเอียด (ได้แก่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลขอ้างอิงการลงทะเบียน ปัญหาที่พบ ภาพหน้าจอ) ได้ที่อีเมล rdwht@rd.go.th

21. ถ้าหน่วยงาน ต้องการนำส่งไฟล์ภาษีทั้งระบบ SVS และระบบ SWC ต้องลงทะเบียนอย่างไร

(วันที่รับปัญหา : 17 ตุลาคม 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 17 ตุลาคม 2565)

     21.1 ในกรณีที่นำส่งไฟล์ภาษีของหน่วยงานผู้หักนำส่งเดียวกัน หน่วยงานไม่ต้องลงทะเบียนเพิ่ม สามารถใช้เลขลงทะเบียนเดียวกันกับทั้ง 2 ระบบได้ แต่จะต้องระวังในการยื่นแบบและชำระภาษีซ้ำกัน

22. ในกรณีที่ต้องกรอกชื่อกลาง ต้องทำอย่างไร

(วันที่รับปัญหา : 14 พฤศจิกายน 2565 ปรับปรุงเมื่อ : 14 พฤศจิกายน 2565)

     22.1 ไปที่ช่องนามสกุล ให้กรอกชื่อกลางลงไปก่อน เคาะวรรค แล้วจีงพิมพ์นามสกุลตามหลัง

 

ปรับปรุงล่าสุด: 01-05-2024