อสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา
1.ข้อมูล
1.1 จดทะเบียนขายเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2549 อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเมื่อ พ.ศ.2545 ถือครองมา 5 ปี วันนี้ได้ตกลงโอนในราคา 2,800,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุน ทรัพย์ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นเงิน 2,000,000 บาท
1.2 กรณีได้มาโดยทางมรดก หรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้
1.3 บัญชีอัตราภาษีเงินได้ สำหรับบุคคลธรรมดา
หมายเหตุ กรณีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้รับยกเว้นภาษี สำหรับเงินได้สุทธิ 100,000 บาทแรก
2. วิธีการคำนวณ
2.1 ทุนทรัพย์ที่ถือเป็นเงินได้ (ราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม)
2.2 เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย
2.3 เงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม 2.2 หารด้วยปีที่ถือครอง)
2.4 ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม 2.3 คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้ฯ)
2.5 ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ (ตาม 2.4 คูณด้วยปีที่ถือครอง)
15,000 * 5 (ปี) = 75,000 บาท
อสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา (นอกเขต กทม. เทศบาลเมืองพัทยา)
1. ข้อมูล
1.1 จดทะเบียนขายเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2549 อสังหาริมทรัพย์ได้มาโดยรับให้เมื่อ พ.ศ.2545 ถือครองมา 5 ปี วันนี้ได้ตกลงโอน ในราคา 2,800,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ตามบัญชีกำหนดราคาประเมินฯ เป็นเงิน 2,000,000 บาท
1.2 เฉพาะกรณีมรดกหรือได้รับให้โดยเสน่หา สำหรับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ให้คำนวณภาษีเฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนที่เกิน 200,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น
1.3 หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้
1.4 บัญชีอัตราภาษีเงินได้ สำหรับบุคคลธรรมดา
2.วิธีการคำนวณ
2.1 ทุนทรัพย์ที่ถือเป็นเงินได้ (ราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม) หักด้วยจำนวนเงินที่ได้รับยกเว้น
เป็นเงิน 2,000,000 บาท
หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 (1,800,000 * 50 / 100) = 900,000 บาท
2.2 เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย
2.3 เงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม 2.2 หารด้วยปีที่ถือครอง)
2.4 ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม 2.3 คูณด้วยอัตราภาษี)
2.5 ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ (ตาม 2.4 คูณด้วยปีที่ถือครอง)
อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจากมรดกหรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา
1. ข้อมูล
1.1 จดทะเบียนขายเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2549 อสังหาริมทรัพย์ได้มาโดยซื้อมาเมื่อ พ.ศ.2545 ถือครองมา 5 ปี วันนี้ได้ตกลงโอนในราคา 2,800,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ตามบัญชีกำหนดราคาประเมินฯ เป็นเงิน 2,000,000 บาท
1.2 บัญชีอัตราการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 165 พ.ศ.2529) เฉพาะในกรณีได้มาทางอื่นนอกจากมรดกหรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา
1.3 บัญชีอัตราภาษีเงินได้ สำหรับบุคคลธรรมดา
หมายเหตุ กรณีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้รับยกเว้นภาษี สำหรับเงินได้สุทธิ 100,000 บาทแรก
2. วิธีการคำนวณ
2.1 ทุนทรัพย์ที่ถือเป็นเงินได้(ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนด) = 2,000,000 บาท
2.2 เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย
2.3 เงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม 2.2 หารด้วยปีที่ถือครอง)
2.4 ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม 2.3 คูณด้วยอัตราภาษี)
2.5 ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ (ตาม 2.4 คูณด้วยปีที่ถือครอง)
ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายอสังหาริมทรัพย์
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขายอสังหาริมทรัพย์
1. ข้อมูล
บริษัท ก จำกัด ซื้อที่ดินมาเมื่อ 5 ปีก่อน และได้ขายไปเป็นจำนวนเงิน 15,000,000 บาท ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามกฏหมายที่ดิน 12,000,000 บาท โดยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และนิติกรรมในเดือนตุลาคม 2549
2. วิธีการคำนวณ
2.1 ราคาขายอสังหาริมทรัพย์ 15,000,000 บาท
2.2 ราคาขายอสังหาริมทรัพย์ (ตามราคาประเมินที่ใช้จดสิทธิและนิติกรรม) 12,000,000 บาท
2.3 ราคาที่ใช้คำนวณ 15,000,000 บาท
2.4 คูณอัตราภาษี ร้อยละ 1
2.5 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ 15,000,000 * 1 / 100 = 150,000 บาท
ภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์
ตัวอย่างการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ
1. ข้อมูล
บริษัท บางกอกการเกษตร จำกัด ประกอบกิจการจัดสรรที่ดินขาย ปรากฏว่าในเดือน มกราคม มีรายรับจากการขายที่ดิน (ก่อนหักรายจ่าย) เป็นเงิน 1,000,000 บาท แต่ราคาประเมินที่ใช้จดสิทธิและนิติกรรม 800,000 บาท นอกจากนี้ ได้ยกที่ดินให้กรรมการบริษัท 1 แปลง คิดเป็นมูลค่า ตามราคาประเมินที่ใช้จดสิทธิและนิติกรรม 500,000 บาทอีกด้วย
บริษัทจะต้องคำนวณภาษี ธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนมกราคม ดังนี้
2. วิธีการคำนวณ
2.1 รายรับจากการขายที่ดินและยกที่ดินให้ผู้อื่น (ถือว่าขาย) เป็นเงิน 1,500,000 บาท
2.2 เสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3 = (3 * 1,500,000) / 100 เป็นเงิน 45,000 บาท
2.3 เสียภาษีท้องถิ่นอีกร้อยละ 10 ของภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นเงิน 4,500 บาท
2.4 รวมเป็นเงิน 45,000 + 4,500 = 49,500 บาท
อากรแสตมป์
ตัวอย่างการคำนวณอากรแสตมป์
1. ข้อมูล
นาย สมเกียรติ ขายที่ดินเป็นเงิน 1,400,500 บาท ราคาประเมินที่ใช้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม 800,000 บาท จะต้องเสียอากรแสตมป์ ดังนี้
2. วิธีการคำนวณ
2.1 รายรับจากการขายที่ดิน เป็นเงิน 1,400,500 บาท
2.2 เสียอากรแสตมป์ 1,400,500 / 200 = 7,002.50 เป็นเงิน 7,003 บาท