เมนูปิด

เลขที่หนังสือ : กค 0702/1977
วันที่ : 2 เมษายน 2564
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีค่าตอบแทนจากการเลิกจ้าง
ข้อกฎหมาย : มาตรา 42 (17) และมาตรา 48 (5)
ข้อหารือ สำนักงาน ก. (สำนักงานฯ) ได้หารือเกี่ยวกับค่าตอบแทนจากการเลิกจ้าง โดยมีข้อเท็จจริง สรุปได้ว่า สํานักงาน ก. เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติฯ ได้รับโอนเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสำนักงาน ข. ซึ่งเป็นองค์การมหาชน มาเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ สํานักงานฯ เป็นการชั่วคราว และสำนักงานฯ ได้ดําเนินการคัดเลือกเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างดังกล่าว เพื่อบรรจุเป็นพนักงานของสํานักงานฯ สําหรับเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะทํางานกับสํานักงานฯ หรือที่ไม่ได้รับการคัดเลือกและบรรจุเป็นพนักงานของสํานักงานฯ ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง และให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการเลิกจ้าง ตามประกาศ ระเบียบ หรือข้อบังคับของสํานักงานฯ ซึ่งไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทั้งนี้ ตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวสํานักงานฯ ขอหารือว่า ค่าตอบแทนการเลิกจ้างที่เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างที่รับโอนมาและไม่ประสงค์จะทํางานกับสํานักงานฯ ถือเป็นเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน และได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้หรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย 1. มาตรา 63 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว กำหนดว่า กรณีเจ้าหน้าที่หรือ ลูกจ้างที่โอนมา ไม่ประสงค์จะทํางานกับสํานักงานฯ ต่อไป หรือไม่ได้รับการคัดเลือกและ บรรจุเป็นพนักงานของสํานักงานฯ ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง และให้มีสิทธิได้รับ ค่าตอบแทนการเลิกจ้างตามประกาศ ระเบียบ หรือข้อบังคับของสํานักงานฯ ซึ่ง ไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการ ประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ดังนั้น ค่าตอบแทนที่เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง ดังกล่าวได้รับจึงถือเป็นเงินได้เนื่องจากการเลิกจ้าง
2. การเลิกจ้างตาม 1. แม้จะมีกฎหมายกำหนดให้จ่ายเงินค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กําหนด ไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ฯลฯ ก็ตาม แต่มาตรา 34 วรรคสาม แห่ง พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว กำหนดให้กิจการของสำนักงานฯ ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่ง กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วย แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วย เงินทดแทน ดังนั้น ค่าตอบแทนการเลิกจ้างที่เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างดังกล่าวได้รับ จึงไม่เข้าลักษณะเป็นค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และค่าชดเชยที่พนักงานได้รับตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ตาม มาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (51) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ค่าตอบแทนดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด
3. กรณีเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งผู้มีเงินได้มีสิทธิที่จะเลือก เสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 48 (5) แห่งประมวล รัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามมาตรา 48 (5) และมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 ต้อง เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่าย ให้เนื่องจากออกจากงานที่มีระยะเวลาการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี ซึ่งกรณีเจ้าหน้าที่หรือ ลูกจ้างถูกโอนมาจากสำนักงาน ข. การนับระยะเวลาการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี ต้องนับ ระยะเวลาทำงานที่เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างดังกล่าวเคยทำงานอยู่ในสำนักงาน ข. ต่อเนื่องรวมกับระยะเวลาทำงานในสำนักงานฯ ด้วย ตามมาตรา 63 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ดังนั้น ค่าตอบแทนการเลิกจ้างตาม 1. หากเจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างดังกล่าวมีระยะเวลาการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี ค่าตอบแทนดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน เจ้าหน้าที่หรือ ลูกจ้างดังกล่าวมีสิทธิเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่นตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 84/51145

 

ปรับปรุงล่าสุด: 02-05-2023